Back to Top
สมุดภาพ ธรรมมาสน์เมืองเพชร
ผศ. แสนประเสริฐ ปานเนียม
.
“ธรรมาสน์เมืองเพชร" นับเป็นงานฝีมือขั้นเยี่ยมอีกงานหนึ่งที่ปรากฏในวัด เป็นงานฝีมือที่เกิดจากแรงศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ช่างสร้างธรรมาสน์จึงได้ แสดงฝีมือเชิงช่างอย่างสุดฝีมือเพื่อแสดงความสามารถ จากหลักฐานที่ปรากฏ พบการสร้างธรรมมาสน์ในเมืองเพชรบุรีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย และ เกิดความนิยมสร้างธรรมาสน์กันอย่างมากในช่วงต้นรัชกาลที่ ๖ จนถึงราวพุทธศักราช ๒๕๐๐ ด้วยระยะเวลาการใช้งานเป็นวลานานมีผลทำให้ธรรมาสน์บางหลังชำรุดเสียหาย บางวัดมีการสร้างธรรมาสน์หลังใหม่ขึ้นทดแทนโดยเป็นธรรมาสน์สําเร็จที่สังซื้อมาจากย่านเสาชิงช้า บ้างวัดก็เลิกใช้ธรรมาสน์บุษบกแบบโบราณไปเพราะ ประเพณีการขึ้นธรรมาสน์เทศน์ลดความนิยมลง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แสนประเสริฐ ปานเนียม และคณะ ได้จัดทำหนังสือ สมุดภาพธรรมาสน์เมืองเพชร ตามโครงการศึกษาและสํารวจช่างศิลป์ท้องถิ่นจังหวัด เพชรบุรี เพื่อการยกระดับคุณค่าและพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและ ประโยชน์ยิ่ง เพราะเป็นการรวบรวมภาพธรรมาสน์งานฝีมือช่างเมืองเพชรให้คงอยู่ เป็นการอนุรักษ์ของเดิม เป็นต้นแบบในการสร้างธรรมาสน์ใหม่ เป็นแรงบันดาลใจ ให้วัดและอนุชนรุ่นหลังได้ภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมเมืองเพชร ได้ตระหนัก ในความงดงามที่ทรงคุณค่า ที่ควรค่าแก่การบํารุงรักษาให้คงอยู่ สมควรแก่การบูรณะ ของเดิมและต่อยอดด้วยการสืบทอดการสร้างธรรมาสน์ เพื่อสืบสานงานช่างและ จรรโลงพระพุทธศาสนาด้วยการเผยแผ่หลักธรรมะ
สำนักพิมพ์ | สำนักพิมพ์ |
---|---|
จำนวนหน้า | ,published_in_year:2604 |
เนื้อในพิมพ์ | ขาวดำ |
กว้าง | mm. |
สูง | mm. |
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง