Back to Top
“ความตาย” และ “ความหมายของชีวิต” สัมพันธ์กับการสร้างแบบแผนอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่ผู้คนปรารถนาในแต่ละยุคสมัย เรื่องราวของความหวังและความใฝ่ฝันซึ่งถูกถ่ายทอดออกมาหลังชีวิตสิ้นสุดลงนั้น จึงเป็นการวางชีวิตของผู้วายชนม์ไว้บนระบอบเกียรติยศที่สังคมได้ยอมรับกันโดยดุษณี
ชาติเมื่อวายชนม์ อุดมการณ์รัฐไทยในอนุสรณ์ฯ ผู้ดับสูญ ไม่เพียงฉายภาพให้เห็นอารมณ์ความรู้สึกของคนภาคใต้ในช่วงทศวรรษ 2460-2550 เท่านั้น แต่ยังชี้ให้เห็นอุดมการณ์ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ที่นำมาสู่ความรู้สึก “หลอมใต้รวมไทย” ซึ่งถูกสถาปนาไว้เป็นเกียรติยศต่อ “คนตาย” ในอนุสรณ์ฯ ที่สร้างโดย “คนเป็น”
นักเขียน | พรชัย นาคสีทอง |
---|---|
จำนวนหน้า | 416 |
เนื้อในพิมพ์ | ขาวดำ |
กว้าง | 142 mm. |
สูง | 210 mm. |
ปีที่ออก | 2567 |
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง