การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรมสยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม

"การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม" ผลงานของ "ชาตรี ประกิตนนทการ" เล่มนี้ เล่าปรากฏการณ์ทางสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2394 - พ.ศ.2500 ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นนำ สมัยรัชกาลที่ 4 ความเชื่อแบบวิทยาศาสตร์เข้ามาแทนที่โลกทัศน์แบบไตรภูมิ ความต้องการสร้างความศิวิไลซ์ให้ทัดเทียมตะวันตก การปฏิรูปการปกครองภายใต้แนวคิดสมบูรณาญาสิทธิราชย์ วิกฤตอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โหยหาความเป็นไทย และสับสนในการปรับรับรสนิยมอย่างตะวันตกไปพร้อมกัน จนมาถึงความเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตย และการหวนกลับมาของกระแสอนุรักษ์นิยมในรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยที่ 2 ล้วนส่งผลกระทบต่อความคิดของผู้คน สะท้อนสภาพสังคม ความคิดในการออกแบบและสร้างสถาปัตยกรรมทั้งสิ้น เป็นที่น่าสังเกตว่าวัด วัง บ้าน เรือน อาคาร อนุสาวรีย์ และพื้นที่สาธารณะ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ อยู่ภายใต้ความหมายอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใด
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
นักเขียน ชาตรี ประกิตนนทการ
สำนักพิมพ์ มติชน
จำนวนหน้า 544
เนื้อในพิมพ์ ขาวดำ
กว้าง 145 mm.
สูง 210 mm.
ปีที่ออก 2566
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรมสยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม
คะแนนของคุณ
Back to Top