ประวัติศาสตร์ความคิด นิติปรัชญา (วรเจตน์ ภาคีรัตน์) พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขปรับปรุง (ปกอ่อน)

บางตอนจากคำนำฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ ในระหว่างการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ครั้งแรกในต้นปี พ.ศ. ๒๕๖๑ จนถึงการพิมพ์ครั้งที่สองในต้นปี ๒๕๖๔ นี้ ได้มีการโอนคดีที่ผู้เขียนไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จากศาลทหารกรุงเทพไปยังศาลแขวงดุสิต ในการพิมพ์ครั้งแรก ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในคำนำว่า ในห้องพิจารณาคดีระหว่างที่ศาลทหารกรุงเทพดำเนินกระบวนพิจารณานั้น บ่อยครั้งที่ความคิดของผู้เขียนได้ล่องลอยไปสู่โลกแห่งนิติปรัชญา สถานการณ์ที่ศาลแขวงดุสิตก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเดิมมากนัก ถึงแม้ผู้เขียนรู้สึกว่าคดีดังกล่าวดูจะไม่มีสาระและไม่เป็นประโยชน์อันใดแก่ระบบกฎหมาย แต่ผู้คนในกระบวนการ “ยุติธรรม” ก็ยังคงกระทำการทุกอย่างไปตามบทบาทที่ได้รับมอบหมายมา ผู้เขียนเองไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ ก็ต้องปฏิบัติไปตามบทบาทของจำเลยเช่นกัน แม้กระนั้นในฐานะที่เป็นผู้สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง และนิติปรัชญา การรับบทบาทจำเลยในคดีลักษณะเช่นนี้ก็มีด้านที่ท้าทายอยู่ และเป็นโอกาสอันดีที่จะนำปัญหาทางกฎหมายอันเชื่อมโยงกับแนวความคิดในทางนิติปรัชญาไปสู่ทางปฏิบัติ นั่นคือ ปัญหาว่าประกาศ คสช. ที่กำหนดโทษทางอาญาแก่บุคคลที่ไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่งซึ่งกำหนดขึ้นภายหลังจากที่ คสช. เข้าช่วงชิงอำนาจรัฐโดยใช้กำลังทหาร ถือเป็นกฎหมายหรือไม่ ถ้าหากเป็นกฎหมายแล้วจะใช้บังคับได้หรือไม่ เพียงใด......วรเจตน์ ภาคีรัตน์
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
นักเขียน วรเจตน์ ภาคีรัตน์
สำนักพิมพ์ อ่านกฎหมาย
จำนวนหน้า 515
เนื้อในพิมพ์ ขาวดำ
กว้าง 166
สูง 239
ปีที่ออก 2564
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:ประวัติศาสตร์ความคิด นิติปรัชญา (วรเจตน์ ภาคีรัตน์) พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขปรับปรุง (ปกอ่อน)
คะแนนของคุณ
Back to Top