เอกภาวะในทฤษฎีสังคมร่วมสมัย (Singu-Larity in Contemporary Social Theories)

หนังสือเล่มนี้มีด้วยกัน 5 บท : บทที่ 1 ซึ่งเป็นบทนำพูดถึงสภาพการณ์ทั่วๆ ไปของทฤษฎีสังคมร่วมสมัยว่ามีการเปลี่ยนแปลง คลี่คลายมาอย่างไรจนถึงปัจจุบัน บทที่ 2 พูดถึงความคิดของนักคิดคนสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 ชื่อกิลแบร์ ซิมงดง ที่ความคิดเรื่อง ‘การทำให้เป็นความเฉพาะเจาะจง’ (individuation) ของเขามีอิทธิพลต่อนักคิดคนสำคัญๆ ในฝรั่งเศสอย่างมาก แต่ที่ผ่านมาซิมงดงกลับไม่ได้รับความสนใจจากวงวิชาการเท่าที่ควร ปัจจุบันซิมงดงเริ่มได้รับความสนใจจากโลกวิชาการภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น การพูดถึงความคิดของซิมงดง ในบทที่ 2 จึงเป็นความพยายามจะคืนความเป็นธรรมให้กับซิมงดงในเชิงวิชาการ บทที่ 3 พูดถึงความคิดของน็องซีที่นำเสนอภววิทยาอีกแบบเรียกว่า ‘พหุเอกภาวะ’ (singular-plural) ที่ช่วยให้เขาสามารถคิดเกี่ยวกับเอกภาวะและการดำรงอยู่อีกแบบที่แตกต่างไปจากอภิปรัชญา บทที่ 4 พูดถึงความคิดเรื่องความแตกต่างในตัวเอง (difference in itself) ของเดอเลิซ ที่เปิดพื้นที่ให้กับการขบคิดเกี่ยวกับความแตกต่างและความมากมายหลากหลายที่ไม่จำเป็นต้องอิงอยู่กับความคิดเรื่องเอกลักษณ์และความเหมือนอีกต่อไป บทที่ 5 ซึ่งเป็นบทสุดท้ายพูดถึงการเมืองของเอกภาวะเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการนำความคิดเรื่องเอกภาวะมาประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ทางสังคม-การเมือง-วัฒนธรรม
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:เอกภาวะในทฤษฎีสังคมร่วมสมัย (Singu-Larity in Contemporary Social Theories)
คะแนนของคุณ
Back to Top