ปลายขอบฟ้าฉาน : บันทึกการต่อสู้ทางการเมืองและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า

การต่อสู้ของชาติพันธุ์ต่างๆ ที่เป็นชนกลุ่มน้อย ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในประเทศใดก็ตาม จะเป็นการต่อสู้ที่ดำเนินไปในลักษณะคู่ขนานเสมอ กล่าวคือเป็นการต่อสู้ด้านวัฒนธรรมเพื่อรักษาอัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ควบคู่กับการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น นอกจากนั้นทั้งบทความและบทสัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ยังตอกย้ำให้เราเห็นได้อีกด้วยว่า การต่อสู้ของบรรดาชาติพันธุ์ต่างๆ ที่เป็นกลุ่มชนส่วนน้อยจะประสบผลตามความมุ่งหมายหรือไม่ มิได้อยู่ที่ประสิทธิภาพของพลังการต่อสู้ของชาติพันธุ์ต่างๆ หากแต่อยู่ที่พัฒนาการของการเมืองระหว่างประเทศ (ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก) ตลอดจนผลประโยชน์และท่าทีของกลุ่มประเทศมหาอำนาจ (ทั้งในและนอกภูมิภาค) ที่ต่างมีส่วนได้ส่วนเสียกับประเทศที่ประสบกับปัญหาเรื่องนี้ (เช่น พม่า) ว่า มหาอำนาจเหล่านี้จะยอมให้ความสำคัญกับเรื่องของข้อเรียกร้องของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มากกว่าเรื่องของผลประโยชน์ด้านต่างๆ ของบรรดาประเทศมหาอำนาจที่มีในพม่าหรือไม่ ซึ่งในประเด็นนี้บทความและบทสัมภาษณ์ใน “ปลายของฟ้าฉาน” ล้วนยืนยันให้เป็นที่ประจักษ์ว่าการต่อสู้ของชนกลุ่มน้อยต่างๆ ของพม่าต่างก็เป็นเหยื่อเป็นเครื่องมือของการเมืองแห่งอำนาจ (power politics) ทั้งในพม่าในระดับภูมิภาคและระดับโลก...
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:ปลายขอบฟ้าฉาน : บันทึกการต่อสู้ทางการเมืองและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า
คะแนนของคุณ
Back to Top