๑๐๐ เอกสารสำคัญ : สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ ๒๔

ประกอบไปด้วยเอกสารสำคัญ 5 เรื่อง คือ “จารึกพระมหาราชครูเชียงใหม่ที่พระเจดีย์ชเหวาซีโข่ง เมืองพุกาม ค.ศ.1393” จารึกหลักนี้ช่วยให้เห็นถึงร่องรอยความสัมพันธ์ทางศาสนาและวัฒนธรรมระหว่างสองอาณาจักร คือ อาณาจักรพม่า กับอาณาจักรเชียงใหม่ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 ขณะเดียวกันยังกล่าวถึงเมืองศูนย์กลางและเส้นทางการจาริกแสวงบุญของพระภิกษุเชียงใหม่ด้วย “บทสวดอุปปาตสันติ : คติความเชื่อเรื่องการสืบชะตาเมือง” นับเป็นเอกสารที่สะท้อนภาพประวัติศาสตร์และการเมือง ความสัมพันธ์กับจีนราชวงศ์หมิง และบทบาทของพระมหาเถระเชียงใหม่ในรัชกาลพระเจ้าสามฝั่งแกน “ตำนานมูลศาสนากับประวัติศาสตร์สถาบันสงฆ์ในล้านนา” เอกสารฉบับนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของตำนานมูลศาสนา ในการศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนาโดยเฉพาะในเรื่องการรับศาสนา และความขัดแย้งระหว่างพระสงฆ์ฝ่ายวัดสวนดอกและวัดป่าแดง อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อและศรัทธาทางศาสนาของชาวล้านนาที่พยายามจรรโลงศาสนาให้อยู่ครบ 5,000 ปี โดยการคัดลอกตำนานมูลศาสนาเก็บไว้ตามวัดวาอารามต่างๆ บทความพิเศษเรื่อง “พระราชกำหนดเก่า จุลศักราช 1089 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ว่าด้วยการปกครองหัวเมือง” เอกสารฉบับนี้แสดงให้เห็นวิธีการควบคุมหัวเมืองของราชสำนักสยามในอดีต และสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางในการปฏิบัติตัวของขุนนางในหัวเมืองด้วย และเรื่อง “จดหมายเหตุโฮสต์ เอส.ฮอลเล็ตต์ (Holt S. Hallett)” ชี้ให้เห็นว่าจดหมายเหตุฉบับนี้มีความสำคัญและคุณค่าในการศึกษาประวัติศาสตร์การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมล้านนาสมัยก่อนการปฏิรูปการปกครอง เนื่องจากมีข้อมูลบางส่วนที่ไม่ปรากฏในเอกสารไทย นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม ภาษา และชื่อเมืองต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพม่าที่มีต่อล้านนาอย่างสูง
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:๑๐๐ เอกสารสำคัญ : สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ ๒๔
คะแนนของคุณ
Back to Top