๑๐๐ เอกสารสำคัญ : สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ ๒๓

ประกอบด้วยเอกสารสำคัญ 5 เรื่อง คือ งานวิจัยเรื่อง จารึกรอยพระพุทธยุคลบาท เมืองชัยนาถ (สองแคว) พระสิริเมธังกร สังฆนายกหนอรัญวาสีจำลอง พ.ศ.1970” เอกสารฉบับนี้ทำให้สามารถเรียงลำดับและจำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 3 ต่อเนื่องมาถึงรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชบรมปาลได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายเมืองเหนือด้วยกันเอง และความสัมพันธ์กับราชสำนักอโยธยาในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) เรื่องที่สอง คือ “จารึกราชายุธิษฐิระ เมืองพะเยา” จารึกนี้เป็นหลักฐานยืนยันว่า เจ้ายุธิษเฐียร มีพระองค์จริง สมดังเล่าไว้ในเอกสารที่เรียบเรียงขึ้นในภายหลัง “ชินกาลมาลีปกรณ์ : มรดกความทรงจำแห่งล้านนา” อธิบายว่า ชินกาลมาลีปกรณ์เป็นผลงานที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นมรดกความทรงจำแห่งล้านนาโดยแท้จริง เป็นประจักษ์พยานว่า ในอดีตล้านนาเคยเป็นศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรมพุทธที่เจริญรุ่งเรือง ด้วยเหตุที่คัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นวรรณกรรมที่ต่อเชื่อมประวัติพุทธศาสนาเข้ากับประวัติศาสตร์อาณาจักรล้านนา เรื่องที่สี่ “พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนว่าด้วยกรมพระนครบาลกับการจัดการดูแลเมืองพระนคร” อธิบายว่า พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนว่าด้วยกรมพระนครบาลในสมัยอยุธยาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระนครนี้มีหน้าที่ดูแลพระนครให้เรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้ายเป็นหลัก แต่ละฝ่ายมีระบบการคานอำนาจและตรวจสอบซึ่งกันและกัน ทว่าก็ไม่อาจแก้ไขปัญหาโจรผู้ร้ายในสังคมได้ และปัญหาดังกล่าวนี้ถือเป็นปัญหาสำคัญของนครหลวงอย่างกรุงเทพมหานครมาจนถึงปัจจุบัน งานวิจัยฉบับสุดท้าย คือ “เชียงใหม่ในจดหมายเหตุเซอร์ เออร์เนสท์ ซาโทว” เป็นเอกสารที่เขียนขึ้นในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สะท้อนภาพล้านนาสมัยก่อนการปฏิรูปการปกครองทั้งด้านวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้คน การปกครอง ระบบเศรษฐกิจ ภูมิประเทศ พืชพันธุ์ และเส้นทางคมนาคมทางน้ำในช่วงเกือบร้อยปีที่ผ่านมา
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:๑๐๐ เอกสารสำคัญ : สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ ๒๓
คะแนนของคุณ
Back to Top