๑๐๐ เอกสารสำคัญ : สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ ๑๙

ประกอบไปด้วยเอกสารสำคัญ 3 เรื่อง โดยมีข้อมูลสังเขป ดังนี้ เรื่องแรกคือ “สังคีติยวงศ์และโอวาทานุสาสนีย์ : รากฐานพุทธจักรในสมัยต้นรัตนโกสินทร์” เอกสารทั้งสองฉบับนี้มีความสำคัญในฐานะเอกสารสะท้อนสภาพพระสงฆ์ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ สังคีติยวงศ์ยังสะท้อนว่า ทั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถ ทรงตั้งใจเป็นอย่างยิ่งที่จะฟื้นฟูการพระศาสนาในราชอาณาจักรสยาม เรื่องที่สอง คือ “หนังสือแสดงกิจจานุกิจของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ : การปรับเปลี่ยนโลกทัศน์ของชนชั้นนำไทย” สะท้อนว่า หนังสือแสดงกิจจานุกิจนี้เป็นเอกสารที่เขียนขึ้นระหว่างที่สยามกำลังเผชิญกับอิทธิพลตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความรู้ และปรัชญาแบบใหม่ ที่ขัดแย้งกับความรู้แบบเดิมของสยาม ทำให้ชนชั้นนำเช่นเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ได้นำเสนอการตอบโต้แนวคิดในหนังสือของท่าน นอกจากนี้ หนังสือแสดงกิจจานุกิจยังสะท้อนการผสมผสานระหว่างแนวคิดแบบเก่าของสยามกับแนวคิดแบบตะวันตก ที่ผู้เขียนสามารถเขียนได้เป็นอย่างดี เรื่องที่สาม คือ “ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่ พ.ศ.2416 : การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมไทยให้เป็นแบบตะวันตก” ซึ่งมีนัยอยู่สองประการ คือ ความพยายามปรับเปลี่ยนบ้านเมืองให้มีอารยะตามแบบตะวันตก เพื่อหลีกเลี่ยงการแทรกแซงของจักรวรรดินิยมตะวันตก และเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้อำนาจทางนิติบัญญัติ เพื่อเรียกคืนพระราชอำนาจจากกลุ่มอำนาจเก่า คือ กลุ่มสยามเก่า และกลุ่มสยามอนุรักษนิยมด้วย
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:๑๐๐ เอกสารสำคัญ : สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ ๑๙
คะแนนของคุณ
Back to Top