๑๐๐ เอกสารสำคัญ : สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ ๑๗

ประกอบด้วยเอกสารสำคัญ 3 เรื่อง ดังนี้ เรื่องแรกคือ “จารึกวัดแวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี : จารึกภาษาเหนือในภาคใต้” เอกสารฉบับนี้มีความสำคัญในการนำข้อเสนอข้อสันนิษฐานใหม่เกี่ยวกับประเด็นข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์เรื่องผู้สร้างจารึกวัดแวง โดยอาศัยหลักฐานประวัติศาสตร์ร่วมกับการศึกษาอักขระและจารึก ชี้ให้เห็นว่าผู้สร้างจารึกนี้มิใช่เจ้าเมืองเชียงทอง ผู้ดีล้านนาที่ถูกกวาดต้อนมาตั้งถิ่นฐานในภาคใต้ แต่เป็นเจ้าเมืองทอง (หรือท่าทอง) ชาวปักษ์ใต้ ที่ทำจารึกนี้ขึ้น โดยรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสุโขทัย-ล้านนาไว้ เรื่องที่สอง “ทำเนียบสมณศักดิ์สงฆ์ในจารึกวัดพระเชตุพนฯ : การจัดการคณะสงฆ์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์” ซึ่งสะท้อนความพยายามของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในการจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ และการเมืองในคณะสงฆ์สมัยต้นรัตนโกสินทร์ให้มีความเรียบร้อยขึ้น ส่วนเรื่องที่สาม คือ “ประกาศจัดตั้งหอพระสมุดวชิรญาณให้เป็นหอสมุดสำหรับพระนครรัตนโกสินทร์ศก 124 กับจุดเริ่มต้นสังคมการอ่านของคนไทย” เอกสารฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า การจัดตั้งหอพระสมุดวชิรญาณฯ เพื่อเป็น “คลังปัญญาประจำประเทศ” ไม่เพียงแต่เป็นจุดเริ่มต้นของการสังคมแห่งการอ่านของไทยเท่านั้น แต่ยังสร้างคุณประโยชน์ต่อวงการศึกษาไทย และเป็นสถานที่สำคัญที่ช่วยให้สยามเป็นชาติอารยะไม่ต่างจากประเทศอื่น
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:๑๐๐ เอกสารสำคัญ : สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ ๑๗
คะแนนของคุณ
Back to Top