๑๐๐ เอกสารสำคัญ : สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ ๑๕

ประกอบไปด้วยบทความพิเศษหนึ่งเรื่องและเอกสารสำคัญสองเรื่อง ดังนี้ เรื่องแรกคือ “บันทึกของชาวตะวันตกที่เกี่ยวข้องกับหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองจนถึง ค.ศ.1885” ว่าด้วยเอกสารตะวันตกที่เกี่ยวข้องกับหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางจนถึงรัชกาลที่ 5 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า หัวเมืองแถบนี้มีความสำคัญ ในฐานะจุดยุทธศาสตร์ เมืองท่าการค้า สังคมนานาชาติ ศูนย์การแผยแผ่คริสต์ศาสนาของบาทหลวงและคณะมิสซังต่างประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาด้านพฤกษศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย เรื่องที่สอง คือ “บันทึกประจำวันของอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศสยามของเซอร์ เออร์เนสต์ ซาโตว ว่าด้วยภูมิภาคตะวันออกของสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัยที่เป็นข้อมูลสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภูมิภาคตะวันออกของไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งให้ภาพการเดินทางวิถีชีวิตของผู้คน การประกอบอาชีพ ความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของพืชพันธุ์ธรรมชาติ รวมทั้งความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในเมืองจันทบุรี ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี เรื่องที่สาม คือ “นิราศเมืองแกลง : ภาพสะท้อนภูมิภาคตะวันออกในสมัยปลายรัชกาลสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ” ซึ่งสะท้อนเส้นทางการเดินทาง ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะชุมชน และการทำมาหากินในภูมิภาคตะวันออก นอกจากนี้ นิราศเมืองแกลงยังเล่าเรื่องส่วย กลุ่มคน และความเชื่อต่างๆ ในสมัยปลายรัชกาลที่ 1 รวมทั้งโลกทัศน์ของสุนทรภู่ในวัยหนุ่มอีกด้วย
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:๑๐๐ เอกสารสำคัญ : สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ ๑๕
คะแนนของคุณ
Back to Top