๑๐๐ เอกสารสำคัญ : สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ ๑๓

เล่มนี้ประกอบไปด้วยเอกสารสำคัญสองเรื่อง เรื่องแรกคือ “จารึกเนินสระบัว : มรดกความทรงจำเมืองปราจีนบุรี” อธิบายว่า จารึกเนินสระบัวมีความสำคัญหลายประการด้วยกัน ประการแรก ถือว่าเป็นหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นเอกสารร่วมสมัยเพียงชิ้นเดียวที่บอกถึงการแผ่อิทธิพลเข้ามาของพุทธศาสนานิกายเถรวาทจากลังกาในบริเวณภาคตะวันออกของประเทศไทยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ประการที่สองในเรื่องของภาษา จารึกเนินสระบัวเป็นหลักฐานที่บอกถึงพัฒนาการทางด้านภาษา โดยเฉพาะด้านที่จารึกเป็นภาษาเขมรนั้น ทำให้ทราบได้ว่าผู้คนที่อยู่บริเวณตะวันออกของประเทศไทยในขณะนั้นซึ่งไม่ว่าจะมีกลุ่มชาติพันธุ์ใดอาศัยอยู่ก็ตาม ย่อมคุ้นเคยกับภาษาเขมรเป็นอย่างดี จนทำให้ภาษาเขมรกลายเป็นภาษาทางราชการและส่วนที่เขียนเป็นภาษาบาลีนั้นแสดงให้เห็นถึงการเข้ามาของพุทธศาสนานิกายเถรวาทจากลังกา และประการที่สาม ความรุ่งเรืองของบริเวณโคกปีบ เมืองปราจีนบุรี ในฐานะเป็นศูนย์กลางอารยธรรมพุทธสถานที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทย ผลงานเรื่องที่สอง เรื่อง “พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ” เป็นเอกสารที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับกัมพูชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ ล้านนา น่าน และหัวเมืองมอญ ซึ่งเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและการเมืองในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา ผลงานวิจัยเรื่องที่สาม เรื่อง “เรื่องเที่ยวทะเลตะวันออกพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์” มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหัวเมืองทะเลตะวันออกของสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งเรื่องของภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ วิทยาทางทะเล การทำมาหากินของผู้คน การเดินทาง สถานที่ท่องเที่ยวในหัวเมืองชายทะเลตะวันออกที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล และความงดงามของธรรมชาติชายฝั่งทะเลตะวันออก
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:๑๐๐ เอกสารสำคัญ : สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ ๑๓
คะแนนของคุณ
Back to Top