๑๐๐ เอกสารสำคัญ : สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ ๗

รวมงานวิจัยสำคัญทางประวัติศาสตร์ไว้ 4 เรื่องดังนี้ เรื่องแรกคือ “จารึกดงแม่นางเมือง : มรดกความทรงจำแห่งเมืองนครสวรรค์” ของ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร ที่ศึกษาวิเคราะห์หลักฐานเอกสารร่วมสมัยที่สำคัญที่สุดหลักหนึ่งในการศึกษาพัฒนาการของบ้านเมืองในบริเวณภาคกลางตอนบนของดินแดนประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 หรือต้นพุทธศตวรรษที่ 18 เรื่องที่สอง ผลงานวิจัยของ วทัญญู ฟักทอง เรื่อง “จารึกขุนศรีไชยราชมงคลเทพ : การประกาศชัยชนะของทัพอโยธยา ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2” นับเป็นหลักฐานเอกสารชั้นต้น ที่ทำให้นักประวัติศาสตร์ได้ทราบเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 คือ การไปตีเมืองพระนครหลวงของเขมรได้ใน พ.ศ.1975 เรื่องที่สาม “หนังสือ ภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หนังสือรวมสรรพความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยและเมืองไทย” ของ อรพินท์ คำสอน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของหนังสือ “ภาษาไทย” ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ว่าไม่เพียงแต่จะมีความสำคัญในฐานะที่เป็นตำราภาษาไทยแล้ว ยังนำเสนอประวัติศาสตร์ร่วมสมัยในแง่มุมต่างๆ และเรื่องที่สี่ ผลงานวิจัยของ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร และ ดร.ศศิกานต์ คงศักดิ์ เรื่อง “สยามชาติ-สยามชนในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง : ภาพสะท้อนจากจดหมายเหตุไคยแบร์ต เฮ็ก ค.ศ.1655 พ.ศ. 2198” ซึ่งวิเคราะห์เอกสารของชาวฮอลันดา ที่ได้เข้ามายังพระนครศรีอยุธยาในช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เอกสารชิ้นนี้นับเป็นเอกสารชั้นต้นที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติและความรู้ความเข้าใจของชาวตะวันตกต่อคนไทยและสังคมไทยในสมัยอยุธยา
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:๑๐๐ เอกสารสำคัญ : สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ ๗
คะแนนของคุณ
Back to Top