สารคดี ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๕๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ : ที่ใดมีการกดขี่...กบฏผู้มีบุญ

ที่ใดมีการกดขี่... กบฏผู้มีบุญ “#ผู้มีบุญ” เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกขาน แต่ทางการขานนามเขาว่า “#ผีบุญ” โดยมีคำว่า กบฏ นำหน้า มาตั้งแต่ ร.ศ. ๑๒๐ หรือ พ.ศ. ๒๔๔๔ . ต่อมาเมื่อกล่าวถึง “#กบฏผีบุญ” คนมักนึกถึงผู้มีบุญกลุ่มอุบลราชธานีที่ถูกสังหารหมู่ที่บ้านสะพือ เมื่อ ๔ เมษายน ๒๔๔๕ อาจเพราะเป็นขบวนการผู้มีบุญกลุ่มใหญ่ที่สุด (กลุ่มองค์มั่น) มีประชาชนเข้าร่วมอย่างกว้างขวาง และถูกล้อมปราบอย่างรุนแรงที่สุด . ตามการศึกษารวบรวมของนักประวัติศาสตร์ นับกันว่าขบวนการต่อสู้ของชาวบ้านที่เชื่อมโยงกับการใช้ความศรัทธาความเชื่อ อภินิหาร และการมาโปรดของพระศรีอาริย์หรือที่เรียกกันว่า ผู้มีบุญ เฉพาะในพื้นที่อีสานเคยเกิดขึ้น ๙ ครั้ง ในช่วง ๒๖๐ ปี ตั้งแต่ปี ๒๒๔๒-๒๕๐๒ . ยิ่งย้อนกลับไปก่อนสมัยรัชกาลที่ ๕ “ผู้มีบุญ” นอกจากปรากฏบนที่ราบสูงโคราช ยังปรากฏในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา บางครั้งกินพื้นที่ออกไปถึงลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง . เมื่อวันที่ ๔ เดือน ๔ ปีครบรอบ ๑๒๐ ปี ร.ศ. ๑๒๑ คนในพื้นที่อีสานกลุ่มหนึ่งร่วมกันจัดงานบุญแจกข้าว “เปิดหน้าดิน” รำลึกเหตุการณ์ “ศึกโนนโพธิ์” ที่บ้านสะพือขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นการปักหมุดบนสถานที่จริง ด้วยความหวังว่าจะพัฒนาต่อให้เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อการศึกษาท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของชุมชนและของชาติ . ด้วยข้อจำกัดเรื่องหลักฐาน ทำให้ภาพของพวกเขาเลือนราง บ้างก็ถกกันว่าเป็น “กบฏไพร่” หรือไม่ บ้างก็ว่า “คนร่วมขบวนการโดนหลอกหรือไม่” ไปจนถึง “มีการวางแผนอย่างเป็นระบบหรือไม่” . แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร จุดกำเนิดของขบวนการไพร่ ล้วนมีที่มาที่ไป และมีเหตุผลในตัวของมันเอง
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
นักเขียน กองบรรณาธิการ นิตยสารสารคดี
สำนักพิมพ์ นิตยสารสารคดี
จำนวนหน้า 152
เนื้อในพิมพ์ สีและขาวดำ
กว้าง 210 mm.
สูง 285 mm.
ปีที่ออก 2565
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:สารคดี ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๕๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ : ที่ใดมีการกดขี่...กบฏผู้มีบุญ
คะแนนของคุณ
Back to Top