ข่าเจือง : กบฏไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง

จุดเด่นที่น่าสนใจก็คือ การปูพื้นว่าด้วย “ข่า” ความรู้และความเป็นการเมือง โดยให้ภาพ “ข่า” คือใคร...นอกจากนี้ยังให้ภาพการเมืองของตำนานและความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนที่ทำให้คนข่ามีสถานะต่ำกว่าลาวและกลุ่มอื่นๆ ผู้เขียนยังได้อธิบายสถานะของขุนเจืองจากคติความเชื่อดั้งเดิม (คติผีเจือง ผีแถน) สู่พุทธศาสนา ที่ได้กลายมาเป็นฐานทางด้านอุดมการณ์ของกบฏข่าตั้งแต่ครั้งต้นรัตนโกสินทร์จนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 รวมทั้งบทส่งท้ายที่เขียนได้อย่างน่าติดตาม โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องการขยายอำนาจของสยามเข้าไปในหัวเมืองประเทศราชล้านช้าง ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ “พระราชอาณาเขตสยาม” ชนชั้นนำสยามได้รับการตอบรับด้วยดีจากชนชั้นนำลาว ขณะที่กลุ่มข่าซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในล้านช้างกลับได้รับผลตรงกันข้าม การรวมตัวก่อการกบฏ “ข่าเจือง” จึงเกิดขึ้น
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:ข่าเจือง : กบฏไพร่-ขบวนการผู้มีบุญหลังสถาปนาพระราชอาณาเขตสยาม-ล้านช้าง
คะแนนของคุณ
Back to Top