คติความเชื่อไตรภูมิและจักรวาลวิทยาในจิตรกรรมฝาผนังไทย

ข้าพเจ้าขอบคุณคณะกรรมการโครงการตำราและหนังสือ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีมติเห็นชอบให้จัดพิมพ์หนังสือ คติความเชื่อไตรภูมิและจักรวาลวิทยาในจิตรกรรมฝาผนังไทย เพื่อเผยแพร่ ในการพิมพ์ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้าจึงเพิ่มภาพถ่ายจิตรกรรมฝาผนังด้านหลังพระพุทธรูปประธานในอุโบสถ ที่เขียนเป็นภาพเล่าเรื่อง “คติความเชื่อไตรภูมิและจักรวาลวิทยา” จำนวน 2 วัด อันได้แก่ (1) จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดบางขุนเทียนใน เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และ (2) จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดปทุมคงคาราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ช่างเขียนทั้งสองวัดมีฝีมือช่างต่างกัน แต่มีกรอบความคิดจัดวางตำแหน่งภาพเล่าเรื่องผนังด้านหลังพระพุทธรูปประธานเป็นภาพ “คติความเชื่อไตรภูมิและจักรวาลวิทยา” เหมือนกัน นอกจากนี้ข้าพเจ้าได้เพิ่มบทความเรื่อง “กรอบความคิดจัดวางตำแหน่งภาพเล่าเรื่องคติไตรภูมิและจักรวาลวิทยาแบบประเพณีนิยม และ กรอบความคิดจัดวางตำแหน่งภาพเล่าเรื่องแบบแปรผันตามบริบทความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย” โดยนำจิตรกรรมฝาผนังด้านหลังพระพุทธรูปประธานในอุโบสถวัดบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี มาเป็นกรณีศึกษา เพราะจิตรกรรมฝาผนังด้านหลังพระพุทธรูปประธานในอุโบสถของวัดนี้ ช่างเขียนได้เขียนภาพพุทธประวัติตอน “มารวิชัย” แทนภาพเล่าเรื่อง “คติความเชื่อไตรภูมิและจักรวาลวิทยา” นับเป็นกรณีศึกษาที่ท้าทายการหาคำตอบ และมีความสำคัญอย่างมาก เพราะคำตอบจะเป็นกุญแจไขความสงสัยแก่วงการประวัติศาสตร์ศิลปะไทย ที่สนใจแนวความคิดในการออกแบบงานศิลปะไทย ผลการศึกษาทำให้เกิดความรู้ใหม่ว่า มีความเป็นไปได้ที่ช่างเขียนไทยโบราณมีหลายกลุ่มความคิด ในขณะศึกษาเรื่อง สามารถจำนแนกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มใหญ่มีทั้งกรอบความคิดหลักจัดวางตำแหน่งภาพเล่าเรื่องจิตรกรรมฝาผนังแบบประเพณีนิยม (2) ขณะเดียวกันมีอีกกลุ่มหนึ่งมีจำนวนน้อยกว่ามากอยู่ในช่วงเวลาและพื้นที่ใกล้เคียงกัน มีกรอบความคิดจัดวางตำแหน่งภาพเล่าเรื่องในจิตรกรรมฝาผนังที่แตกต่างจากแบบประเพณีนิยม...ฯลฯ
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:คติความเชื่อไตรภูมิและจักรวาลวิทยาในจิตรกรรมฝาผนังไทย
คะแนนของคุณ
Back to Top