พระนั่งเกล้าฯ ไม่โปรดการละครแต่เป็นยุคของของวรรณคดี

พระนั่งเกล้าฯ ไม่โปรดการละคร แต่เป็นยุคทองของวรรณคดี ผู้เขียน: ธนโชติ เกียรติณภัทร พระนั่งเกล้าฯ ไม่โปรดการละคร แต่เป็นยุคทองของวรรณคดี เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความเกี่ยวกับงานวรรณคดีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โดยแสดงให้เห็นว่านี่เป็นอีก “ยุคทอง” ของวรรณคดี อีกทั้งวรรณคดียังสะท้อนให้เห็นถึงบรรยากาศและเหตุการณ์บ้านเมืองในสมัยนั้น รวมถึงบรรยากาศของกรุงเทพฯ โดยเฉพาะย่านท่าช้างซึ่งเป็นย่านที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ ย่านเสาชิงช้า และชุมชนแขกเลี้ยงวัว อีกทั้งยังมีเนื้อหาที่ว่าด้วยการตีพิมพ์พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ที่กว่าจะได้ตีพิมพ์ครั้งแรกก็ต้องรอถึง พ.ศ. 2477 โดยความล่าช้าในการตีพิมพ์นั้น นอกจากจะเป็นเพราะความขัดข้องด้านเนื้อหาแล้ว ยังเกี่ยวของกับประเด็นทางการเมืองของชนชั้นนำอีกด้วย คำนำ : พระนั่งเกล้าฯ ไม่โปรดการละคร แต่เป็นยุคทองของวรรณคดี คำนิยม โดย บุญเตือน ศรีวรพจน์ คำนำผู้เขียน - พระราชปณิธานพระนั่งเกล้าฯ จากเพลงยาวพระราชปรารภ - พุทธบูชาแห่งพระเจ้าแผ่นดิน และความสัมพันธ์ระหว่างหนังใหญ่กับศิลปกรรม “รามเกียรติ์วัดโพธิ์” - ศึกเวียงจันทน์ในวรรณคดี มุมมองจากกวีร่วมยุคสมัย - “ท่าช้างหว่างค่ายล้อม แหล่งสถาน” ย้อนตำนานย่านเก่าครั้งต้นกรุง - ตามรอยระเด่นลันได ย้อนดูพระนครสมัยพระนั่งเกล้าฯ - มองกรุงรัตนโกสินทร์ผ่านฉากเมืองสุโขทัย: พินิจในเรื่องนางนพมาศ - เบื้องหลังการเผยแพร่พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
นักเขียน ธนโชติ เกียรติณภัทร
สำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์มติชน
จำนวนหน้า 312,published_in_year:2568
เนื้อในพิมพ์ ขาวดำ
กว้าง mm.
สูง mm.
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:พระนั่งเกล้าฯ ไม่โปรดการละครแต่เป็นยุคของของวรรณคดี
คะแนนของคุณ
Back to Top