จิ้มก้องและกำไร: การค้าไทย-จีน 2195-2396

จิ้มก้องและกำไร: การค้าไทย-จีน 2195-2396 เล่าเรื่องประวัติศาสตร์การทูต-การค้าระหว่างไทย-จีนยุคปลายอยุธยา-ต้นรัตนโกสินทร์ ฉายภาพโครงข่ายการค้าเรือสำเภาในยุคโบราณที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจการค้าของบ้านเมืองต่างๆ ทั่วภูมิภาค สร้างความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

เดิมทีความเข้าใจ การค้าต่างประเทศในยุคโบราณของไทยให้ความสำคัญกับชาติตะวันตกเป็นหลัก ทั้งการค้ากับโปรตุเกส ดัตช์ และฝรั่งเศส ทั้งที่จริงแล้ว ชาติมหาอำนาจในภูมิภาคอย่างจีนต่างหากที่มีอิทธิพลในการค้าภูมิภาค รัฐน้อยใหญ่ต่างยินยอมค้าขายกับจีนภายใต้ระบบการค้าการทูตที่เรียกว่า "จิ้มก้อง" ซึ่งเป็นการยอมรับสถานะที่ไม่เท่าเทียมกัน แต่นำมาซึ่งรายได้อันมหาศาล ในขณะเดียวกัน การค้าการทูตระหว่างรัฐต่อรัฐก็ทำให้การค้าเมืองท่ารายทางเติบโตขึ้นไปด้วย เกิดขุนนางนายทุน พ่อค้าจีน จำนวนมากดำเนินการค้าแบบเอกชน ค้าขายสินค้าทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย สร้างความมั่งคั่งแก่บรรดาเมืองท่าต่างๆ รวมถึงสยามด้วย

อย่างไรก็ตาม ความเฟื่องฟูของการค้าจิ้มก้องนี้ก็จบลง

เมื่อมหาอำนาจอย่างจีนค่อยๆ หมดอิทธิพลเนื่องด้วยปัญหาภายในและการเข้ามาของชาติตะวันตกสมัยใหม่ ทำให้รัฐต่างๆ ค่อยๆ เลิกการค้ากับจีน รวมถึงสยาม และหันไปทำการค้าเสรีกับตะวันตกแทน

ทดลองอ่าน : https://bit.ly/3vm90s0
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
นักเขียน สารสิน วีระผล เขียน พรรณงาม เง่าธรรมสาร_รังษี ฮั่นโสภา และสมาพร แลคโซ แปล
สำนักพิมพ์ มติชน
จำนวนหน้า 520
เนื้อในพิมพ์ ขาวดำ
กว้าง 166 mm.
สูง 242 mm.
ปีที่ออก 2567
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:จิ้มก้องและกำไร: การค้าไทย-จีน 2195-2396
คะแนนของคุณ
Back to Top