ปฏิวัติ ร.ศ. 130

บันทึกความทรงจำร่วมของ ร.ต.เหรียญ และ ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ บันทึกถึง ความเป็นมาของการก่อตัวของความคิดในการพยายามปฏิวัติทางการเมืองของ ‘คณะร.ศ. ๑๓๐’ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๖ เนื้อหาภาในเล่มประกอบด้วย เป้าหมายของการปฏิวัติ การขยายแนวร่วม การทรยศหักหลัง น้ำใจของเพื่อนนักปฏิวัติ การถูกจับกุมและไต่สวนจากรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การถูกคุมขังลงทัณฑ์ ชีวิตนักโทษการเมืองในคุก ชีวิตนักปฏิวัติหลังการพ้นโทษ การสนับสนุนการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ของพวกเขา กล่าวได้ว่า บันทึกความทรงจำเล่มนี้ ถือได้ว่าเป็นงานเขียนที่สำคัญและถูกใช้เป็นหลักฐานในการศึกษาเหตุการณ์ในครั้งนั้นมากที่สุด ความพยายามปฏิวัติ ร.ศ.๑๓๐ เหตุการณ์นี้ไม่เป็นแต่เพียงความเคลื่อนไหวทางการเมืองสำคัญบนหน้าประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ของสยามเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปิดฉากวิวาทะระหว่างฝ่ายที่ต้องการรักษากับฝ่ายมุ่งเปลี่ยนแปลงอำนาจการเมืองที่จินตภาพถึงอนาคตของสยามที่วางอยู่บนทางสองแพร่งระหว่าง ‘ซิวิไลซ์หรือศรีวิลัย’ ‘ความเสื่อมหรือความเจริญ’ ‘อนุรักษนิยมหรือเสรีนิยม’ ‘ราชาธิปไตยหรือประชาธิปไตย’ หรือแม้ระทั่ง ‘ลิมิเต็ด มอนากีหรือรีปับลิ๊ก’ แม้สยามจะเดินผ่านเหตุการณ์ครั้งนั้นมานานถึงร้อยปีแล้วก็ตาม แต่การวิวาทะถึงความเปลี่ยนแปลงของไทยยังคงดำเนินต่อไปบนเส้นทางของความไม่สิ้นสุดของภาวะสมัยใหม่ ปฏิวัติ ร.ศ. 130 ฉบับที่พิมพ์โดย สนพ.มติชน ยังเพิ่มภาคผนวก เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ คณะ ร.ศ.130 จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รวบรวมและอธิบายโดย ณัฐพล ใจจริง ในการพิมพ์ครั้งที่ 2 นี้ ได้เพิ่มภาพประกอบ และเพิ่มบทความพิเศษอีก 2เรื่อง เพื่อให้หนังสือเล่มนี้มีความสมบูรณ์มากขึ้น 1. จาก “คณะร..ศ.130” ถึง “คณะราษฎร” : ความเป็นมาและความคิด “ประชาธืปไตย” ในประเทศไทย เขียนโดย ณัฐพลใจจริง และ อนุสรณ์คณะ “เก๊กเหม็ง” สยาม ร.ศ. 130 เขียนโดย นริศ จรัสจรรยาวงศ์
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
นักเขียน ร.ต. เหรียญ ศรีจันทร์ ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์
สำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์มติชน
จำนวนหน้า 536
เนื้อในพิมพ์ ขาวดำ
กว้าง 155 mm.
สูง 215 mm.
ปีที่ออก 2565
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:ปฏิวัติ ร.ศ. 130
คะแนนของคุณ
Back to Top