Back to Top
หลังบ้านคณะราษฎร ความรัก ปฏิวัติ และการต่อสู้ของผู้หญิง
ในหน้าประวัติศาสตร์การปฏิวัติ 2475 ตามความรับรู้ทั่วไป บทบาท คณะราษฎรที่เป็น "ผู้ชาย" มักจะได้รับการบันทึกให้อยู่ "หน้าฉาก" ทางการเมืองซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยหารู้ไม่ว่าบทบาท "ผู้หญิง" ที่ถูกเก็บซ่อนอยู่ใน "หลังฉาก" มีส่วนช่วยเหลือคณะราษฎรผู้เป็น "สามี" ไว้มากมาย ทั้งคอยให้คำปรึกษา ช่วยตัดสินใจ ทำธุรกิจ หารายได้เลี้ยงครอบครัว สร้างเครื่อข่ายการเมือง เจรจาต่อรอง รวมถึงช่วยเหลือสามีในยามต้องเผชิญภัยทางการเมือง เช่นนี้แล้ว หากจะกล่าวว่า "ผู้หญิง" ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองก็คงจะละเลยบางหน้าสำคัญของประวัติศาสตร์ไปอย่างน่าเสียดาย
หนังสือ "หลังบ้านคณะราษฎร : ความรัก ปฏิวัติ และการต่อสู้ของผู้หญิง" เล่มนี้ จึงปรากฎขึ้นเพื่อตอบโต้ประวัติศาสตร์แบบ "ปิตาธิปไตย" (ชายเป็นใหญ่) ที่ลดทอนและมองข้ามตัวตนบทบาท "ผู้หญิง" ต่อการเมืองภาครัฐ และพิสูจน์ว่า "หลังบ้าน" ที่คณะราษฎรอาศัยหลับนอนร่วมชายคานั้น สัมพันธ์กับการปฏิวัติ การสร้างชาติ และการสร้างประชาธิปไตยอย่างมิอาจแยกออกจากกัน...
หนังสือ "หลังบ้านคณะราษฎร : ความรัก ปฏิวัติ และการต่อสู้ของผู้หญิง" เล่มนี้ จึงปรากฎขึ้นเพื่อตอบโต้ประวัติศาสตร์แบบ "ปิตาธิปไตย" (ชายเป็นใหญ่) ที่ลดทอนและมองข้ามตัวตนบทบาท "ผู้หญิง" ต่อการเมืองภาครัฐ และพิสูจน์ว่า "หลังบ้าน" ที่คณะราษฎรอาศัยหลับนอนร่วมชายคานั้น สัมพันธ์กับการปฏิวัติ การสร้างชาติ และการสร้างประชาธิปไตยอย่างมิอาจแยกออกจากกัน...
นักเขียน | ชานันท์ ยอดหงษ์ |
---|---|
สำนักพิมพ์ | มติชน |
จำนวนหน้า | 384 |
กว้าง | 140 |
สูง | 210 |
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง