ความทรงจำใต้อำนาจ รัฐ ราชวงศ์ พลเมือง ละการเมืองบนหน้าปฏิทิน

บนหน้าปฏิทินที่ดาษดื่นไปด้วย "วันสำคัญ" นั้น เราเคยตั้งคำถามกันหรือไม่ว่า วันสำคัญเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และอำนาจจากแห่งหนใดที่มากำหนดว่า วันนั้นๆ "สำคัญ" หรือ "ไม่สำคัญ" . "ความทรงจำใต้อำนาจ: รัฐ ราชวงศ์ พลเมือง และการเมืองบนหน้าปฏิทิน" ผลงานของชนาวุธ บริรักษ์ จะตีแผ่กลไกเบื้องหลังการสร้างวันสำคัญในไทยที่เกิดขึ้นมานานนับศตวรรษ ตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านแนวคิดเรื่องเวลาจากจันทรคติสู่สุริยคติ จนถึงทศวรรษ 2520-2540 ช่วงเวลาแห่งการเพิ่มขึ้นของวันสำคัญและเกิดสำนึกความทรงจำแบบมวลชนเข้าไปท้าทายสำนึกความทรงจำของรัฐที่ยึดโยงกับสถาบันหลักของชาติไทย . "วันสำคัญ" จึงมิใช่เพียงวาระแห่งการรำลึกถึงอดีตหรือมีไว้เพื่อการเฉลิมฉลองเท่านั้น ทว่ายังสัมพันธ์กับสำนึกความทรงจำของพลเมืองให้สยบยอมและเชื่องเชื่ออยู่ภายใต้ "อำนาจ" ที่คอยบงการชีวิตผู้คนอยู่ตลอดเวลา
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
นักเขียน ชนาวุธ บริรักษ์
สำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์มติชน
จำนวนหน้า 408
เนื้อในพิมพ์ ขาวดำ
กว้าง 145 mm.
สูง 210 mm.
ปีที่ออก 2565
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:ความทรงจำใต้อำนาจ รัฐ ราชวงศ์ พลเมือง ละการเมืองบนหน้าปฏิทิน
คะแนนของคุณ
Back to Top