Back to Top
ตอนที่ผมเชียนบทความสุดท้ายในชุดนี้ พระยาแซกเจ็ดหัวเมืองคบคิดขบถ ร.ศ. 121ผมเขียนวิทยานิพนธ์เสร็จแล้วและอยู่ระหว่างการรอสอบปากเปล่าในครึ่งหลังของ 2511ในยามว่างผมได้เข้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ (Public Record Office) ซึ่งสมัยนั้นยังอยู่ที่อาคารเก่าในย่านธุรกิจ นครลอนดอน (City of London) แห่งกรุงลอนดอนบทความเรื่องนี้ จึงอ้างถึงเอกสารอังกฤษด้วย ทำให้สมบูรณ์กว่าบทความเรื่องขบถเงี้ยวเมืองแพร่บทความนี้ได้รับความสนใจมากตั้งแต่ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ 2514 อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพราะกรณิพระยาแขกเจ็ดหัวเมืองคบคิดขบถเมื่อ ร.ศ. 121 คือต้นกำเนิดของปัญหาต่างๆ ในภูมิภาคนั้นที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ผมยังจำได้ดีว่า 2-3 ปีหลังจากพิมพับทความเรื่องนี้ ผู้ใหญ่ในกระทรวงมหาดไทยที่รับผิดชอบสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ส่งลูกน้องมาคุยกับผมที่กระทรวงการต่างประเทศเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว และในการปะทะกันครั้งแรกๆ เมื้อ 2547 ในเป้ของ "ผู้ก่อความไม่สงบ" คนหนึ่งซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐนำมาให้ผมดูปรากฏสำเนาบทความเรื่องพระยาแขกเจ็ดหัวเมืองคบคิดขบถ ร.ศ. 121. ด้วย "ผู้ก่อความไม่สงบ" คนนั้นคงอยากรู้ที่มาของปัญหาของเขากระมัง ผมขออวยพรให้เขาประสบความสุขในสัมปรายภพผมขอขอบคุณอาจารย์ชาญวิทย์อิกครั้งหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับหนังสือเล่มเล็กๆ นี้โดยให้เกียร์ติวาผมได้เปิดประเด็นทางประวัศิศาสคร์ที่สำคัญ เมื่อผมเขีอนบีป?ควมผู้การู้ระหว่าง 2509 กับ 2514 ผมต้องการจะเติมเต็มฉากหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยให้ครบมิติมิใช่มีมิติเดียวที่ปราศจากปัญหา ไม่มีการต่อต้าน ทุกอย่างราบรื่น ซึ่งไม่จริง การรับความจริงจากข้อเท็จจริงน่าจะนำเราไปสู่ความเป็นจริงที่ดีขึ้นในอนาคต
นักเขียน | เตช บุนนาค |
---|---|
สำนักพิมพ์ | มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ |
จำนวนหน้า | 136 |
เนื้อในพิมพ์ | ขาวดำ |
กว้าง | 145 mm. |
สูง | 210 mm. |
ปีที่ออก | 2566 |
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง