พยัคฆ์แห่งมาลายา

พยัคฆ์แห่งมาลายา: ชีวประวัติเติงกู มะห์หมูด มะห์ยิดดีน ผู้ต่อสู้เพื่อเอกราชของปาตานี เล่มนี้กล่าวถึงเติงกู มะห์หมูด มะห์ยิดดีนบุตรชายคนสุดท้องของเติงกู อับดุล กาดีร์ กามารุดดีน สุลต่านองค์สุดท้ายของปาตานี (รูปขวาของ AW) เติงกู มะห์หมูด มะห์ยิดดีนเป็นบุคคลที่โลกลืม โดยเฉพาะโลกรัฐไทยที่พยายามทำให้โลกมลายูปาตานีลืมบุรุษผู้มีความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ปาตานีโดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและหลังจากนั้น เติงกู มะห์หมูด มะห์ยิดดีนเป็นที่รู้จักและจดจำในฐานะนักชาตินิยม, นักการศึกษา, นักการเมืองมาเลเซีย และในฐานะผู้นำการปฏิรูปการศึกษาในกลันตัน ตอนที่ญี่ปุ่นบุกยึดมลายาช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขามีบทบาทสำคัญในกองกำลังอาสาสมัครต่อต้านญี่ปุ่น โดยเป็นผู้นำ ‘Force 136’ ที่ทำสงครามกองโจรต่อต้านญี่ปุ่นและไทยที่ดินแดนแหลมมลายู ต่อมาได้ล่าถอยไปที่สิงคโปร์ เมื่อสิงคโปร์ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น เขาจึงลี้ภัยไปอยู่ที่อินเดียในปี 1943 ขณะที่รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (รูปซ้าย) ได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาในวันที่ 25 มกราคม 1942 ที่อินเดีย เติงกู มะห์หมูด มะห์ยิดดีนได้จัดรายวิทยุของ All India Radio โดยรับผิดชอบการออกอากาศเป็นภาษามลายูในชื่อ ‘Suara Harimau Malaya’ ซึ่งหมายความว่า ‘เสียงเสือมลายา’ รายการนี้ได้ถ่ายทอดไปทั่วคาบสมุทรมลายูรวมถึงปาตานีด้วย ซึ่ง เติงกู มะห์หมูด มะห์ยิดดีนได้เรียกร้องให้ชาวมลายูต่อต้านทั้งญี่ปุ่นและไทย ต่อมาเขายังได้รับยศ “พันตรี” จาก ลอร์ด หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เพื่อรับผิดชอบผู้นำของกองกำลังมลายู 136 (Force 136) ที่อินเดีย หลังจากที่ญี่ปุ่นประกาศความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง เติงกู มะห์หมูด มะห์ยิดดีนได้ขอให้อังกฤษเรียกร้องรัฐบาลไทยให้ดินแดนตั้งแต่คอคอดกระเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษ แต่ทว่าอังกฤษไม่สามารถทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าวได้ เมื่อประสบกับความผิดหวัง เติงกู มะห์หมูด มะห์ยิดดีนเดินหน้าต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาตานี โดยได้ก่อตั้งองค์กรการเมืองชื่อ ฆึมปาร์ (GEMPAR / Gabungan Melayu Patani Raya) ในค.ศ. 1948 เพื่อเรียกร้องเอกราชจากรัฐไทยและต้องการให้ปาตานีเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลายา
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
เนื้อในพิมพ์ ขาวดำ
กว้าง mm.
สูง mm.
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:พยัคฆ์แห่งมาลายา
คะแนนของคุณ
Back to Top