Back to Top
ยุคสมัยและกษัตริย์อย่างใหม่ในพระราชพิธีสิบสองเดือน
ส่งท้าย คือ ผลงานของพิชญา สุ่มจินดา คือ การต่อยอดจากข้อเสนอธงชัยเมื่อ 11 ปีก่อน ผนวกกับข้อเสนอในบทความของธงชัยในบทความแรก พิชญายังสนทนากับตัวเองใหม่กับงานวิจัยชิ้นก่อนของเขาเรื่อง “การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ศิลปะและแนวคิดเชิงสังคมและวัฒนธรรมของจิตรกรรมฝาผนังในพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม” โดยธงชัยก็ได้อ้างอิงข้อเสนอพิชญานำมาใช้ส่งเสริมจินตภาพการแสดงออกของสำนึกยุคสมัยอย่างใหม่ที่เขาได้อธิบายไปผ่านแว่นมองทางศิลปะ.. หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ประมวลความเข้าใจ พระราชพิธีสิบสองเดือน ฉบับสมบูรณ์ เพราะเหลือกำลังมนุษย์และไม่มีประโยชน์ทางวิชาการถ้าไม่มีทางผิดเลย ความรู้ชุดนี้ยังรอคอยการต่อยอดยิ่งๆ ขึ้นไป ทว่าสามารถเป็นตัวอย่างของประมวลการศึกษาหลากแง่มุมในห้วงขณะเดียวกัน ด้วยวิธีวิทยาของศาสตร์ที่ต่างกัน การแบ่งศาสตร์ช่วยลดรูปความรู้ให้เข้าใจง่ายขึ้น ไม่ใช่มุ่งเข้าใจแต่มุมที่ตัวเองคุ้นเคย ผมจึงขอชวนทุกท่านอ่าน ตั้งคำถาม ร่วมหา “รอยตะเข็บ” ระหว่างศาสตร์ หาคำตอบที่หลากหลายและลุ่มลึกขึ้น ขอให้งานวิชาการในหัวข้อที่ฟังดูเหมือนเลยพ้นจากปัจจุบัน มองไม่เห็นอรรถประโยชน์เล่มนี้นี่แหละ จุดประกายแตกแขนงคำถามที่ดีๆ บำรุงวิจารณญาณและความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านทุกท่านครับ
นักเขียน | ธงชัย วินิจจะกูล |
---|---|
สำนักพิมพ์ | อิลลูมิเนชันส์ เดิชันส์ |
จำนวนหน้า | 312 |
เนื้อในพิมพ์ | ขาวดำ |
กว้าง | 165 mm. |
สูง | 240 mm. |
ปีที่ออก | 2566 |
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง