Back to Top
เข้าเล่มปกอ่อนจำนวน 256 หน้า
สารบัญ
บทนำ
I. บทนำทางประวัติศาสตร์
II. ลักษณะของทฤษฎีกฎหมายในสำนักกฎหมายบ้านเมือง
ข้อความคิดว่าด้วยกฎหมายในทรรศนะของฮันส์ เคลเซ่น และเอช.แอล.เอ.ฮาร์ท
I. ฮันส์ เคลเซ่น กับทฤษฎีกฎหมายบริสุทธิ์
1 ประวัติและผลงานของฮันส์ เคลเซ่น โดยสังเขป
2 ทฤษฎีกฎหมายบริสุทธิ์
II. เอช. แอล. เอ. ฮาร์ท กับ The Concept of Law
1 ประวัติและผลงานของเอช. แอล. เอ. ฮาร์ท โดยสังเขป
2 The Concept of Law
บทวิพากษ์
I. ปัญหาของแนวความคิดแบบสำนักกฎหมายบ้านเมือง
II. ข้อวิจารณ์ต่อทฤษฎีกฎหมายของสำนักกฎหมายบ้านเมือง
“กฎหมายย่อมเป็นกฎหมาย” : อิทธิพลจากแนวความคิดแบบสำนักกฎหมายบ้านเมืองในประเทศไทย
I. กระแสของแนวความคิดแบบสำนักกฎหมายบ้านเมืองตะวันตกในประเทศไทย
II. ทฤษฎีกฎหมายกับคำพิพากษาในประเทศไทย
III. ข้อวิจารณ์เกี่ยวกับข้อความคิดของกฎหมายทางวิชาการในประเทศไทย
บทสรุป
บรรณานุกรม
เป้าหมายของงานเขียนชิ้นนี้คือการแก้ไขภาพจำของสำนักกฎหมายบ้านเมืองในสายตาของคนไทยหลาย ๆ คนจากประสบการณ์ของผู้เขียน ที่มองว่าสำนักกฎหมายบ้านเมืองเป็นฝ่ายอธรรมเนื่องจากไม่สนใจใยดีต่อเนื้อหาของกฎหมายหรือความยุติธรรมเลย ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นข้อกล่าวหาที่ออกจะเกินเลยไปเสียหน่อย ที่สำคัญ การที่เราตั้งธงในการศึกษานิติปรัชญานั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง การศึกษานิติปรัชญาที่มีไอเดียในการแบ่งเป็นฝ่ายธรรมะและอธรรมครอบอยู่ย่อมทำให้เราไม่สามารถทำความเข้าใจความคิดของทฤษฎีกฎหมายต่าง ๆ ได้อย่างถ่องแท้ปราศจากอคติ เพราะในวิชานิติปรัชญาไม่มีคำตอบที่ถูกต้องอย่างสัมบูรณ์และตลอดไป ทุกทฤษฎีต่างถูกคิดค้นขึ้นมาภายใต้เงื่อนไขแห่งเวลาและสถานที่ทั้งสิ้น เราจึงเห็นการเปลี่ยนผันทางความคิดอยู่เสมอ แนวความคิดแบบกฎหมายธรรมชาติเคยเป็นแนวความคิดกระแสหลักเป็นระยะเวลานับพันปี กลับถูกโต้แย้งโดยสำนักกฎหมายบ้านเมืองในศตวรรษที่ 19 ภายใต้เงื่อนไขทางสังคมในช่วงเวลานั้นที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง และสำนักกฎหมายบ้านเมืองที่ก้าวขึ้นมาเป็นกระแสหลักก็ถูกโต้แย้งจากผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่สอง ไอเดียของสังคมเปลี่ยนแปลงได้เสมอ และมันจะยังคงเป็นเช่นนั้นต่อไป
นักเขียน | ศศิภา พฤกษฏาจันทร์ |
---|---|
สำนักพิมพ์ | อิลลูมิเนชั่นส์ เอดิชั่นส์ |
จำนวนหน้า | 256 |
เนื้อในพิมพ์ | ขาวดำ |
กว้าง | 145 mm. |
สูง | 210 mm. |
ปีที่ออก | 2567 |
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง