Back to Top
เจ้าทรัพย์ บทวิพากษ์เศรษฐกิจการเมืองไทยร่วมสมัย
เจ้าทรัพย์ บทวิพากษ์เศรษฐกิจการเมืองไทยร่วมสมัย
บทวิพากษ์ว่าด้วยสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างนายทุน การเมือง ชนชั้น เบื้องหลังความสัมพันธ์ที่แยกกันไม่ออกนี้มีอะไรซ่อนอยู่ ร่วมถกปมปัญหาที่อาจเป็นสุดของปลายยอดภูเขา หรือเป็นก้อนมหึมาที่ซุกซ่อนอยู่เบื้องล่างภูเขาน้ำแข็งที่อำพรางสายตา
หนังสือ "เจ้าทรัพย์ : บทวิพากษ์เศรษฐกิจการเมืองไทยร่วมสมัย" เล่มนี้ เป็นการรวมบทความที่ว่าด้วยการวิพากษ์ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับเศรษฐกิจการเมืองไทย และตัวละครหลักสำคัญอย่าง เจ้าสัว-นายทุน นักการเมือง ทหาร และชนชั้นกระฎุมพี คำถามสำคัญที่เป็นโจทย์ใหญ่ร่วมกันของหนังสือเล่มนี้คือ ทั้งหมดมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในราชอาณาจักรไทย ทั้งหมดมีความเชื่อมโยงอย่างไรกับระบอบการเมืองไทย และทั้งหมดมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับปัญหาความเหลื่อมล้ำ วิกฤตเศรษฐกิจ การผูกขาดของทุน การกดขี่ขูดรีด ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง การถอยหลังออกจากระบอบประชาธิปไตย ความขัดแย้งทางชนชั้น และความแปลกแยกของผู้คนในสังคม
ภายในเล่ม ฉายภาพ "แกนกลาง" ของเรื่องราวทั้งหมดอย่างตรงไปตรงมา บนพื้นฐานของกรอบวิชาการ ความรู้ และข้อมูลในระดับสากล ทั้งจากนักคิด นักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญอย่าง อดัม สมิธ, ฟรีดริช เฮเกล, คาร์ล มาร์กซ์, เดวิด ฮาร์วีย์ ฯลฯ ผู้อ่านจะได้เห็นความเป็นมา เป็นไปของเส้นทางของระบบเศรษฐกิจของสังคมไทย และแนวคิดอันฝังลึกของเศรษฐกิจแบบไทย ๆ อาทิ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการบริจาคแบบทุนนิยมใจบุญสุนทาน ไปจนถึงระบบอุปถัมภ์
นักเขียน | ปวงชน อุนจะนำ |
---|---|
สำนักพิมพ์ | สำนักพิมพ์สมมติ |
จำนวนหน้า | 392 |
เนื้อในพิมพ์ | ขาวดำ |
กว้าง | 133 mm. |
สูง | 210 mm. |
ปีที่ออก | 2566 |
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง