Back to Top
การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไทย
มันเป็นไปได้หรือไม่ที่รัฐไทยในศตวรรษที่ 21 จะสามารถควบคุมสังคมที่เคยตื่นตัวทางการเมืองอย่างกว้างขวางให้อยู่ในภาวะสงบปากสงบคำอย่างต่อเนื่อง มันเป็นเรื่องเหลือเชื่อหรือเปล่าที่จะอาศัยคนแค่หยิบมือเดียว (ต่อให้หวังดีและสุจริตใจ) มาตัดสินใจแก้ไขปัญหาสารพัดที่เคยพาผู้คนเรือนล้านออกมาเคลื่อนไหวตามท้องถนน ยังไม่ต้องเอ่ยถึงว่ามันเป็นการเข้าใจผิดหรือไม่ที่จะอาศัยระบบราชการอันรกรุงรังหมักหมมด้วยปัญหาของตนเองเป็นพลังนำในการขับเคลื่อนประเทศไทยเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์
พูดก็พูดเถอะ ถ้าประวัติศาสตร์สอนอะไรเราได้บ้าง เราก็ควรจะมองเห็นว่าแม้พัฒนาการประชาธิปไตรยในประเทศไทยจะไม่ใช่เส้นตรง แต่เส้นทางของระบอบอำนาจนิยมก็คดเคี้ยวและขาดตอนด้วยเช่นกัน
สภาพเช่นนี้หมายความว่าการเปลี่ยนแปลงในระดับระบอบการเมือง (regime level) ของไทยนั้นเป็นวิวัฒนาการในเชิงวิภาษ (dialectical) ซึ่งอาศัยความขัดแย้งใหญ่เป็นตัวขับเคลื่อนและเนื่องจากไม่มีฝ่ายไหนถือครองชัยชนะได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จึงเกิดปราฏกการณ์ที่ประชาธิปไตยและอำนาจนิยมผลัดกันมีฐานะครองงำ เมื่อฝ่ายหนึ่งมีฐานะเป็นตัวตั้ง (thesis) ก็จะมีผลผลักดันให้เกิดพลังในด้านตรงข้าม (antithesis) ซึ่งถ้ามองจากมุมขององค์รวมท้ายที่สุดการกระทบกระทั่งที่ไม่มีใครชอบก็อาจพาสังคมไทยขยับใกล้ความลงตัว (synthesis) ไปอีกหนึ่งก้าว
สารบัญ
บทที่ 1 ปัญหาประชาธิปไตยในประเทศไทย : ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและเศรษฐกิจสังคม
บทที่ 2 ผลกระทบของกระบวนการโลกาภิวัฒน์ที่มีต่อรัฐไทยและระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย
บทที่ 3 การเมืองภาคประชาชนกับการขยายตัวของระบอบประชาธิปไตยไทย : หลักการและความจำเป็นทางสถานการณ์
บทที่ 4 การเมืองภาคประชาชนในประเทศไทย : ระหว่างอุดมคติกับความจริง
บทสรุป / แง่คิดเกี่ยวกับทางออก
นักเขียน | เสกสรรค์ ประเสริฐกุล |
---|---|
สำนักพิมพ์ | สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น |
จำนวนหน้า | 288 |
เนื้อในพิมพ์ | ขาวดำ |
กว้าง | 145 mm. |
สูง | 210 mm. |
ปีที่ออก | 2567 |
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง