คนกับเสือ

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ทำงานเขียนมานับตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ผลงานเขียนของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล เริ่มเผยแพร่อย่างเป็นทางการเมื่อเขายุติบทบาทนักปฏิวัติสังกัดค่าย พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เขาวางปืนและยอมแพ้ต่อรัฐบาลไทยกลับเข้าสู่สังคมเมืองอีกครั้ง ภายหลังได้รวบรวมงานเขียนของตนเองนำมาตีพิมพ์เผยแพร่ และยังคงทำงานเขียนต่อเนื่องยาวนานถึงสามทศวรรษ งานเขียนของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ในช่วงทศวรรษแรก ได้แรงบันดาลใจมาจากงานกิจกรรมทางการเมืองตั้งแต่ เมื่อยังเป็นนักศึกษา ซึ่งเขาเคยเป็นแกนนำนักศึกษานำมวลชนเดินขบวนในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 กระทั่งทำงานเป็นนักปฏิวัติ ได้เห็นชีวิตของคนชายขอบ ผู้พ่ายแพ้ที่สังคมทอดทิ้ง ดังที่เราจะได้เห็นชีวิตเจาะลึกของเหล่าชาวไร่ชาวนา คนป่าเขาบนดอยต่างๆ รวมไปถึงชนชั้นแรงงานที่ถูกนายทุนและสังคมเมืองเอารัดเอาเปรียบ ในช่วงทศวรรษหลังของชีวิตการทำงาน ประเด็นในงานเขียนของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล กว้างขวางมากขึ้น ไม่จำเพาะเจาะจงเฉกเช่นงานเขียนในช่วงทศวรรษแรก หากรวมเอาลักษณะหลายสิ่งหลายอย่างทั้งความคิด อารมณ์เบื้องลึก ความกังวล ความร้าวราน ไปจนถึงชีวิตในบทบาทต่างๆ ของเขาเอง ทำให้งานเขียนของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล

ในช่วงนี้เปิดไปสู่เปิดไปสู่การค้นหาความสงบภายในมากขึ้น ขณะเดียวกัน เขายังไม่ทิ้งประเด็นสังคมและการเมืองที่เคย ส่วนร่วมกับมันไว้ หากเขียนด้วยมุมมองที่หลากหลายขึ้ ในนามของความเจริญ สังคมไม่อนุญาตให้ผู้คนได้เป็นเสือนัก หลายครั้งเราจะพบว่าสังคมมักจะต้อนผู้คนให้ต้องเลือก ระหว่างต้องถูกกำราบให้เป็นสัตว์สังคม หรือถูกล่าล้างให้สูญหายเฉกเช่นเสือ นั่นหมายถึงว่าเสือมิอาจอยู่ร่วมกับคนกระนั้นหรือ จึงต้องถูกตราหน้าว่าพวกเขาเป็นขบถสังคม เป็นผู้ไม่ยอมจำนนต่อระเบียบที่ความเจริญบัญญัติขึ้น คนกับเสือ คือหนังสือรวมเรื่องสั้น ซึ่งกล่าวถึงเหล่าคนผู้กำลังสูญพันธุ์ไปจากสังคม เหล่าผู้ถูกบังคับให้สูญหายในความหมายของจิตวิญญาณ ไม่ให้เหลือความเป็นเสือในตัวตนอีกต่อไป
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
นักเขียน เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
สำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์ประพันธ์สาน
จำนวนหน้า 112
เนื้อในพิมพ์ ขาวดำ
กว้าง 128 mm.
สูง 195 mm.
ปีที่ออก 2566
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:คนกับเสือ
คะแนนของคุณ
Back to Top