สารคดี ฉบับที่ ๔๖๖ มกราคม ๒๕๖๗ : CHOCOLATE SIAM

ช็อกโกแลต โกโก้ไทย ไปไกลแล้วคราฟต์

“อนึ่ง แขกมัวร์ในประเทศสยามดื่มกาแฟ ซึ่งมาจากเมืองอาหรับ และชาวปอรตุเกศนั้นดื่มโกโก้ เมื่อมีส่งมาจากมนิลาเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งนำมาจากอินเดียภาคตะวันออกในเขตคุ้มครองของสเปญอีกทอดหนึ่ง”.ซิมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubère) ราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อปี ๒๒๓๐ บันทึกไว้ในหนังสือจดหมายเหตุของเขา (สำนวนแปลภาษาไทยโดย สันต์ ท. โกมลบุตร).นั่นหมายความว่าอย่างน้อยที่สุด มีโกโก้ให้ดื่มกันในเมืองไทยมากว่า ๓๐๐ ปีแล้ว!

โกโก้ คือผลผลิตจากต้นคาคาว (cacao) ต้นไม้ชนิดหนึ่งซึ่งมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน แม้จะเคยมีความพยายามพัฒนาให้คาคาวเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยมาหลายครั้งหลายหน แต่ที่ผ่านมายังไม่ประสบความสำเร็จนัก .ทว่าดูเหมือนว่าความเปลี่ยนแปลงกำลังจะเกิดขึ้น

ความนิยมในช็อกโกแลตบาร์จากผู้ผลิตรายย่อย (specialty and artisanal chocolates) ที่เน้นการผลิตจำนวนจำกัด พร้อมกลิ่นรส “เทสต์โน้ต” เฉพาะตัว และรสชาติแปลกใหม่ที่มีความเป็นท้องถิ่น ขยายตัวจากโลกตะวันตก มาเบ่งบานทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเมืองไทย

สารคดี ฉบับนี้ ขอพาผู้อ่านไปย้อนดูตั้งแต่ความเป็นมาในประวัติศาสตร์ของ “โกโก้” และ “ช็อกโกแลต” ก่อนพาตลุยเข้าสวนโกโก้ แวะเวียนทำความรู้จักกับ “คนโก้” บางแบรนด์บางราย เพื่อให้เห็นทั้ง “ที่มา” และ “ทางไป” แห่งรสชาติหอมหวานชนิดนี้ในเมืองไทย
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
นักเขียน กองบรรณาธิการนิตยสารสารคดี
สำนักพิมพ์ นิตยสารสารคดี
จำนวนหน้า 132
เนื้อในพิมพ์ สี่สีและขาวดำ
กว้าง 8.25 นิ้ว.
สูง 11.25 นิ้ว.
ปีที่ออก 2567
เขียนบทวิจารณ์ของคุณเอง
คุณกำลังวิจารณ์:สารคดี ฉบับที่ ๔๖๖ มกราคม ๒๕๖๗ : CHOCOLATE SIAM
คะแนนของคุณ
Back to Top