Return to Previous Page
หนังสือแนะนำ
หลากหลายเรื่องราว หลากหลายความคิด บอกเล่าผ่านตัวหนังสือ แล้วเริ่มออกเดินทางเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน
-
ดำรงประเทศ
ผู้แต่ง : เวทางค์ดำรงประเทศ เป็นประพันธ์ลำดับที่ 33 ของเวทางค์ เป็นนิยายทางด้านแนวความคิดการเมือง การบริหารประเทศ วางเนื้อเรื่องและบทบาทของตัวละครเน้นไปในทางให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงแก่นธรรมะ และที่สำคัญคือ ระบอบการปกครองของประเทศ ซึ่งขณะนั้นยังมีการปกครองใน “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์" แต่ผู้ประพันธ์ได้เน้นเสนอปรัชญาการเมืองในแบบ "ธรรมาธิปไตย" เป็นการปลุกให้นักอ่านได้ตื่นตัวแต่มิใช่เป็นการปลุกระดมอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (1 ใน 100 เล่มหนังสือดีที่คนไทยควรอ่าน)190 บาทสินค้าหมด
-
วารสาร อ.ม.ธ. ฉบับพิเศษ ๑๔ ตุลาคม “วันมหาปิติ”
ผู้แต่ง : องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หนังสือบันทึกข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ 5-15 ตุลาคม 2516 ที่เกิดจากการรวบรวมข้อมูลขององค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ที่มีบทบาทสำคัญ ในการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตย เมื่อเดือนตุลาคม 2516 อีกทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและดำเนินอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนามหลวง ถนนราชดำเนิน นำเสนอรายงานการเคลื่อนไหวของนักเรียน นักศึกษา จากทุกจังหวัดทั่วประเทศในช่วง 2-3 วัน ก่อนและหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคมว่า มีการเคลื่อนไหว สอดคล้องหนุนช่วยการเคลื่อนไหว ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อย่างไร (1 ใน 100 เล่มหนังสือดีที่คนไทยควรอ่าน)185 บาทสินค้าหมด
-
ประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับถอดความ
ผู้แต่ง : ทองย้อย แสงสินชัยโคลงโลกนิติ เป็นวรรณกรรมประเภทคำสอน ในลักษณะของโคลงสุภาษิต คำว่า โลกนิติ (อ่านว่า โลก-กะ-นิด) แปลว่า ระเบียบแบบแผนแห่งโลก เนื้อหาในโคลงโลกนิติจึงมุ่งแสดงความจริงของโลกและสัจธรรมของชีวิต เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้เท่าทันต่อโลก และเข้าใจในความเป็นไปของชีวิต พร้อมเป็นแม่แบบเพื่อให้ผู้อ่านได้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้องดีงามสืบไป โคลงโลกนิติมีความไพเราะเหมาะสมทั้งด้านรูปแบบและเนื้อหาปรัชญาสาระ ครบคุณค่าทางวรรณกรรม ทำให้เป็นที่แพร่หลายในหมู่คนทั่วไป บางท่านกล่าวยกย่องโคลงโลกนิติว่าเป็น อมตะวรรณกรรมคำสอน หรือ ยอดสุภาษิตอมตะ ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นบทอ่านในหนังสือแบบเรียนสำหรับนักเรียนนักศึกษา และได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน120 บาทสินค้าหมด
-
ขอบฟ้าขลิบทอง
ผู้แต่ง : อุชเชนีหนังสือรวมบทกวีของ 'อุชเชนี' ระหว่างปี พ.ศ.2489 ถึงปี พ.ศ.2531 ถือเป็นผลงานอมตะในวงการประพันธ์ เพราะแม้กาลเวลาได้ล่วงเลยไปนานถึงเกือบครึ่งศตวรรษ แต่ก็ยังได้รับความนิยมจากผู้สนใจสืบเนื่องกันเรื่อยมา 'ร้อยกรอง' หลายๆ บทในเล่มนี้ ได้นำไปใช้อ้างถึงสำหรับการศึกษาวิชาการประพันธ์ระดับอุดมศึกษาบางแห่ง จากปีพุทธศักราช 2489 เมื่อบทร้อยกรอง 'มะลิ' ผลิดอกบานหวานชื่นตราบจนทุกวันนี้129 บาท -
ลูกอีสาน
ผู้แต่ง : คำพูน บุญทวีลูกอีสาน ของคำพูน บุญทวี ถือเป็นงานวรรณกรรมชิ้นแรก ที่นำเสนอเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนอีสานอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้คนไทยทั้งหลายได้รู้ถึงความอดทนของชาวอีสานที่ต่อสู้ต่อความแร้นแค้นของที่ราบผืนใหญ่นี้อย่างมีศักดิ์ศรี ลูกอีสาน ถือกำเนิดจากการเขียนเป็นตอนๆ ลงในหนังสือ ฟ้าเมืองไทย ของคุณ อาจินต์ ปัญจพรรค์ คำพูนเขียนจากชีวิตของตนเองและเพื่อนบ้านที่ประสบภัยแล้งและความอดอยากปากแห้งในสมัยนั้น พอเขียนจบก็มีสำนักพิมพ์นำเอาไปรวมเล่มจัดจำหน่าย แล้วส่งเข้าประกวด จนได้รับรางวัล ‘นวนิยายดีเด่น’ จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ.2519 และกระทรวงศึกษาได้อนุมัติให้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาเรียนด้วย หลังจากนั้นก็ได้รับรางวัลนวนิยายยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนหรือรางวัลซีไรต์ ในปี พ.ศ.2522 และถูกแปลเป็นภาษาต่างประเทศ ได้แก่ ภาษาญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และอังกฤษ140 บาทสินค้าหมด
-
โฉมหน้าศักดินาไทย
ผู้แต่ง : จิตร ภูมิศักดิ์การเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของจิตร ภูมิศักดิ์ ควรถือเป็นเรื่องเด่นที่ต่างจากการเขียนแบบเรียนหรือเอกสารประกอบวิชาประวัติศาสตร์ที่เคยมีคนทำกันมา กล่าวคือเขาได้วิเคราะห์ประวัติศาสตร์อย่างใหม่ คือวิเคราะห์ตามแนวทางของมาร์กซิสต์ ชนิดที่ไม่มีผู้ใดทำมาก่อน และแน่นอนจุดยืนในการวิเคราะห์ของเขาอยู่ที่มวลชน เนื้อหาสาระจึงต่างกับแนวคิดของประวัติศาสตร์ฝ่ายศักดินามากนัก หนังสือเล่มนี้นำเสนอเรื่องราวและข้อคิดเกี่ยวกับ "ศักดินาในสังคมไทย" ของจิตร ภูมิศักดิ์ (นักคิดคนสำคัญคนหนึ่งของประเทศไทย) ซึ่งนับเป็นเรื่องเด่นที่มีลักษณะแตกต่างจากการเขียนแบบเรียนหรือเอกสารประกอบวิชาประวัติศาสตร์ที่เคยมีคนทำกันมา "จิตร" ได้วิเคราะห์ประวัติศาสตร์แบบใหม่ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในสังคมไทยขณะนั้น คือ ได้ศึกษาวิเคราะห์ตามแนวทางของมาร์กซิสต์ (Marxist) ที่ไม่มีนักวิชาการไทยรุ่นก่อนจิตร ภูมิศักดิ์เคยทำมาก่อน และแน่นอนจุดยืนในการวิเคราะห์ของเขาอยู่ที่มวลชน เนื้อหาสาระจึงต่างกับแนวคิดของประวัติศาสตร์ฝ่ายศักดินามาก นี่คือหนังสือที่ครั้งหนึ่งเคยเป็น "หนังสือต้องห้าม" แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นหนังสือที่คุณค่า (หนังสือ 1 ใน 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน)190 บาท -
เราชะนะแล้ว, แม่จ๋า. และกาพย์กลอน "ความเปลี่ยนแปลง" (โครงการอ่านนายผี ลำดับที่ 4)
ผู้แต่ง : นายผี (อัศนี พลจันทร)เราชะนะแล้ว, แม่จ๋า. และ "ความเปลี่ยนแปลง" เป็นงานเขียนกาพย์กลอนของนายผี จัดพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณชนอีกครั้งในวาระ 95 ปีชาตกาลของคุณอัศนี พลจันทร ซึ่งตรงกับวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2556 กาพย์กลอนเรื่องนี้เขียนขึ้นในระหว่างที่คุณอัศนีกำลังหลบหนีการจับกุมในปีที่เกิดกรณี “กบฏสันติภาพ” (10 พฤศจิกายน 2495) แต่งานเขียนไม่ได้ตีพิมพ์จนกระทั่งก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จึงเริ่มมีผู้นำเนื้อหาบางส่วนมาเผยแพร่ และได้มีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มหนังสือครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2517 เราชะนะแล้ว, แม่จ๋า. จึงตกผลึกเป็นงานเขียนเพื่อสดุดีการต่อสู้ของกรรมกรและแสดงจุดยืน/สำนึกทางชนชั้นของนายผี ขณะที่เรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติครอบครัวในความเปลี่ยนแปลง ก็เขียนวิพากษ์ระบบศักดินาดังที่เขากล่าวไว้ข้างต้น ยิ่งกว่านั้นงานทั้งสองเรื่องนี้ยังอาศัยรูปแบบคำประพันธ์ของวรรณคดีในการเขียนเนื้อหาว่าด้วยชีวิตและการต่อสู้ของสามัญชน จึงควรบันทึกไว้ในฐานะกาพย์กลอนแนวมาร์กซิสม์ของไทยอีกโสตหนึ่งด้วย สำหรับการจัดพิมพ์ครั้งนี้ยึดหลักว่าจะคงอักขรวิธีตามต้นฉบับเดิมไว้ ไม่ปรับแก้วิธีสะกดคำตามพจนานุกรมฉบับปัจจุบัน เพื่อให้เป็นไปตามความตั้งใจของคุณวิมล และคุณวิมลมาลี ที่ต้องการรักษารูปแบบภาษาของงานไว้ตามยุคสมัย ทว่าเราได้ปรึกษา ปทานุกรมฉบับกรมตำรา กระทรวงธรรมการ พ.ศ.2470, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493, สันสกฤต-ไทย-อังกฤษอภิธาน ฉบับของร้อยเอกหลวงบวรบรรณารักษ์ (แสงดาว, พิมพ์ครั้งที่ 5, 2554) เมื่อพบข้อสงสัยทั้งในแง่รูปคำและความหมายในระหว่างการชำระต้นฉบับครั้งนี้ด้วย130 บาทสินค้าหมด
-
ศรีทะนนไชย สำนวนกาพย์ (พิมพ์ครั้งที่ 6)
ผู้แต่ง : ศรีนิล น้อยบุญแนว (บรรณาธิการ)นิทานพื้นบ้านตลกขบขันที่เล่าสืบกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตัวละครเอกเป็นคนเจ้าปัญญามีไหวพริบปฏิภาณฉลาดแกมโกง เล่าเรื่องตั้งแต่กำเนิดศรีทะนนไชย ผ่าท้องน้อง ถูกไล่ไปอยู่วัด บวชเป็นสามเณร สึกออกมาขายขนม เผาเรือนนาย แขวนวัวไว้บนต้นตาล หลอกพระเจ้าแผ่นดินไปทอดพระเนตรเรือนทอง ขอที่ดินเท่าแมวดิ้นตาย ถูกสั่งประหารแต่รอดมาได้ หลอกพระเจ้าแผ่นดินลงไปในสระน้ำ ถูกจับใส่กรงเหล็กไปถ่วงน้ำแต่รอดมาได้ ไปค้าขายเมืองจีน กินผักบุ้งไต่ราว ท้าชกมวย ไปกินเมืองปักษ์ใต้ เสียรู้เณร ฯลฯ ศรีทะนนไชย แต่งเป็นนิทานคำกาพย์ ประเภทกาพย์ยานี กาพย์สุรางคนางค์ และกาพย์ฉบัง ซึ่งจัดพิมพ์ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยโรงพิมพ์หมอสมิธ นับเป็นศรีทะนนไชยฉบับแรกที่มีการจัดพิมพ์และเป็นต้นแบบให้กับศรีทะนนไชยฉบับต่อๆ มา พร้อมเรื่อง ธนญชัยบัณฑิต ซึ่งเป็นเรื่องชาดกนอกนิบาตสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่เล่าเรื่องคล้ายกันกับศรีทะนนไชย120 บาทสินค้าหมด