Return to Previous Page
โปรโมชั่น
-
จิตรกรรมพระพุทธประวัติในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (The Mural Painting of the Life of the Lord Buddha In the Ubosot of the Temple of the Emerald Buddha)
ผู้แต่ง : สำนักพระราชวังประมวลภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว เป็นหนังสือที่นำเสนอธรรมเนียมการเขียนภาพในพุทธสถานของไทย เนื้อหาในเล่มมี 2 ลักษณะ คือ จิตรกรรมฝาผนังแบบไทยประเพณี บนผนังพระอุโสถทั้งสี่ด้าน ซึ่งประกอบด้วย เรื่องพระพุทธประวัติ พุทธชาดก กามภูมิ ภาพสุภาษิตสอนใจ และกระบวนพยุหยาตราของบ้านเมืองยุครัตนโกสินทร์ และ จิตรกรรมแผ่นกระจก ศิลปะแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 เป็นภาพพระพุทธจริยาวัตรแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานไว้เหนือพระทวารบาลและพระบัญชร1,300 บาทสินค้าหมด
-
100 ปี เหรียญกีฬาไทย
ผู้แต่ง : สมาคมเหรียญที่ระลึกไทยหนังสือเหรียญกีฬาเล่มแรกของประเทศไทย รวบรวมเหรียญที่เกี่ยวกับการกีฬา ทั้งที่เป็นเหรียญรางวัล และเหรียญที่ระลึก ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน เหรียญแรกที่มีการบันทึกคือ พ.ศ.2440 มาจนถึงใน พ.ศ.2557 นับเป็นเวลา 117 ปีมาแล้ว650 บาท -
ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ (พิมพ์ครั้งที่ 9)
ผู้แต่ง : ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์"แม่ครัวหัวป่าก์" เป็นตำราอาหารไทยยุคแรกๆ ของประเทศไทย แต่งโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภรรยาเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงธรรมการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 รายละเอียดที่น่าสนใจและควรศึกษา ในหนังสือเล่มนี้ คือ เป็นบันทึกประวัติศาสตร์บอกเล่าในช่วงยุคต้นรัตนโกสินทร์ มีการกล่าวถึงสภาพภูมิ-ประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานครในสมัยรัชกาลที่ 5 ตลอดจนขนบธรรมเนียมการปรุงอาหารของไทยในสมัยก่อน และประวัติการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ในสมัยแรก400 บาทสินค้าหมด
-
สมุดภาพโคลงฤาษีดัดตน
ผู้แต่ง : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนฯในสมัยโบราณการรักษาด้วยแพทย์แผนไทยนอกจากจะมียาสมุนไพรแล้ว ยังมีการนวดดัดตนประกอบ ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีปรากฏกรมหมอนวด มีศักดินาเทียบเท่ากรมหมอยา ประกอบด้วย กรมหมอนวดขวา เจ้ากรม คือ หลวงราชรักษา กรมหมอนวดซ้าย เจ้ากรม คือ หลวงราโช สมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ.2331 พระบาทสมเด็จพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม) โปรดให้มีการจารึกตำรายา และฤาษีดัดตนไว้ตามศาลาราย เพื่อให้ราษฎรได้รู้จักรักษาตนเองยามเจ็บไข้ รูปฤาษีดัดตนที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 นั้น เป็นการปั้นด้วยดินและปูน มาในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ และโปรดให้กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ ซึ่งทรงกำกับกรมช่างหล่อปั้น ปั้นฤาษีดัดตน 80 ท่า แล้วหล่อด้วยสังกะสีผสมดีบุก เรียกว่า “ชิน” และมีโคลงสี่อธิบายประกอบครบทุกรูปตามศาลารายและสรรพคุณในการดัด และพระองค์เองก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์โคลงไว้ถึง 6 บท รวมทั้งสิ้น 80 บท และยังมีการวาดภาพสมุดไทยดำและมีโคลงกำกับไว้เช่นกัน สมุดภาพโคลงฤาษีดัดตนเล่มนี้ ต้นฉบับเป็นของกรมศิลปากร ซึ่งได้จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550600 บาท