Return to Previous Page
รายละเอียด
ในสมัยโบราณการรักษาด้วยแพทย์แผนไทยนอกจากจะมียาสมุนไพรแล้ว ยังมีการนวดดัดตนประกอบ ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีปรากฏกรมหมอนวด มีศักดินาเทียบเท่ากรมหมอยา ประกอบด้วย กรมหมอนวดขวา เจ้ากรม คือ หลวงราชรักษา กรมหมอนวดซ้าย เจ้ากรม คือ หลวงราโช สมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ.2331 พระบาทสมเด็จพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม) โปรดให้มีการจารึกตำรายา และฤาษีดัดตนไว้ตามศาลาราย เพื่อให้ราษฎรได้รู้จักรักษาตนเองยามเจ็บไข้ รูปฤาษีดัดตนที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 นั้น เป็นการปั้นด้วยดินและปูน มาในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ และโปรดให้กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ ซึ่งทรงกำกับกรมช่างหล่อปั้น ปั้นฤาษีดัดตน 80 ท่า แล้วหล่อด้วยสังกะสีผสมดีบุก เรียกว่า “ชิน” และมีโคลงสี่อธิบายประกอบครบทุกรูปตามศาลารายและสรรพคุณในการดัด และพระองค์เองก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์โคลงไว้ถึง 6 บท รวมทั้งสิ้น 80 บท และยังมีการวาดภาพสมุดไทยดำและมีโคลงกำกับไว้เช่นกัน สมุดภาพโคลงฤาษีดัดตนเล่มนี้ ต้นฉบับเป็นของกรมศิลปากร ซึ่งได้จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
ข้อมูลเพิ่มเติม
ISBN |
978-616-394-015-5 |
ปีที่ออก |
2558 |
ผู้แต่ง |
คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ |
ผู้แปล |
- |
ชื่อสำนักพิมพ์ |
คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ |
กว้าง (นิ้ว) |
8.5 |
สูง (นิ้ว) |
11.5 |
หน้า |
134 |
เนื้อในพิมพ์ |
4 สีทั้งเล่ม |
คุณอาจจะสนใจในสินค้าดังต่อไปนี้