Return to Previous Page
งานวิจัย-วิทยานิพนธ์
-
ไทยในสายตาเพื่อนบ้าน
ผู้แต่ง : สุเนตร ชุตินธรานนท์ ขนิษฐา คันธะวิชัยเรียบเรียงเนื้อหาจากโครงการวิจัยชุด "ไทยในการรับรู้และความเข้าใจของประเทศเพื่อนบ้าน" ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในการค้นคว้าและทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาพของไทยในสายตาเพื่อนบ้าน เพื่อก้าวพ้นอคติเดิมและร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน300 บาท -
สถานภาพงานวิจัยสาขาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๓๓
ผู้แต่ง : แถมสุข นุ่มนนท์ และคณะการศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายที่จะสำรวจแนวโน้มของการวิจัยสาขาประวัติศาสตร์ในประเทศไทยในช่วงเวลา 32 ปี นับตั้งแต่การเขียนประวัติศาสตร์แบบวิชาการเริ่มขึ้นอย่างจริงจัง ว่ามีพัฒนาการและทิศทางที่ดำเนินมาอย่างไร เพื่อที่จะได้เสนอแนะแนวทางของการวิจัยว่าควรจะเป็นเช่นไรในอนาคต165 บาทสินค้าหมด
-
การเมืองเรื่องวีรบุรุษ มิติใหม่บนเส้นขนานทางวัฒนธรรม : วารสารไทยคดีศึกษา ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑ (ตุลาคม ๒๕๕๑ - มีนาคม ๒๕๕๒)
ผู้แต่ง : เทียมจิตร์ พ่วงสมจิตร์นำเสนอและมุมมองใหม่ ท่ามความหลากหลาย การผสมกลมกลืน และความแตกต่างของผู้คน เชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม การศึกษาหรือการปรับตัวให้เข้ากับเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปรไปด้วยการมองในมิติใหม่ๆ และแบบคู่ขนานของสังคม150 บาท -
นางงามตู้กระจก : การศึกษากระบวนการกลายเป็นหมอนวดไทย
ผู้แต่ง : ศุลีมาน (นฤมล) วงศ์สุภาพนางงามตู้กระจก รางวัลวิทยานิพนธ์ยอดเยี่ยม สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา นับเป็นผลงานสำคัญที่นำเสนอมุมมองและการทำความเข้าใจผู้หญิงที่เป็น “หมอนวด” ในแนวใหม่ โดยมิได้ลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ลงเป็นเพียงเหยื่อของความยากจน หรืออธิบายเชิงกล่าวโทษผู้หญิงกลุ่มนี้ว่ามีจริตและจิตใจแตกต่างไปจากผู้หญิงกลุ่มอื่นๆ ดังเช่นงานส่วนใหญ่นิยมกระทำกัน220 บาทสินค้าหมด
-
เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านภาคใต้ในรอบห้าทศวรรษ
ผู้แต่ง : สงบ ส่งเมืองที่มาของการศึกษาโครงการวิจัยเรื่อง “เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านไทย” นี้ สืบเนื่องมาจากการพัฒนาประเทศไทยในอดีตเป็นแนวทางทุนนิยม ซึ่งเน้นเฉพาะส่วนเมืองแต่ละทิ้งส่วนชนบทที่เป็นรากฐานใหญ่ของประเทศ ละเลย “เศรษฐกิจชุมชนชนบท” ซึ่งสามารถพัฒนาควบคู่ไปกับแนวทางทุนนิยมได้ หรือที่ต่อมาเรียกว่าแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จากการศึกษารายงานผลของงานวิจัย ได้ข้อค้นพบที่สำคัญหลายประการ เช่น เศรษฐกิจไทยประกอบด้วยเศรษฐกิจสองระบบ คือ ระบบเศรษฐกิจชุมชนและระบบเศรษฐกิจทุน การแปรรูปของเศรษฐกิจไทย จากระบบเศรษฐกิจครอบครัวและชุมชนเป็นระบบเศรษฐกิจทุน เป็นกระบวนการที่มีความหนืดตัวสูง รวมทั้งเส้นทางการพัฒนาประเทศไทยที่สอดคล้องกับความเป็นจริง ควรเป็นเส้นทางที่ชุมชนและวัฒนธรรมชุมชนมีบทบาทนำ เพราะชุมชนเป็นแกนของสังคมและวัฒนธรรมไทย440 บาท -
เพศภาวะและแรงงานอพยพหญิงชนบทในกลไกเศรษฐกิจใหม่ของลาว
ผู้แต่ง : ณรงค์ศักดิ์ ชัยราชผลงานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางเพศสภาวะในบริบททางเศรษฐกิจของชุมชนชนบท กับการเกิดปรากฏการณ์การอพยพแรงงานหญิงเคลื่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานนอกระบบในประเทศไทย ศึกษาวิเคราะห์ผ่านนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาล ความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางเพศสภาวะในชุมชนครอบครัว และตัวปัจเจกบุคคลแรงงานหญิงอพยพ โดยมีขอบเขตพื้นที่ศึกษาที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดสะหวันนะเขต ส.ป.ป.ลาว299 บาท -
หนึ่งศตวรรษเศรษฐกิจของคนกลุ่มทะเลสาบสงขลา
ผู้แต่ง : กิตติ ตันไทยนำเสนอรายงานผลการวิจัย เรื่อง “เศรษฐกิจท้องถิ่นลุ่มทะเลสาบสงขลา : ศึกษาเฉพาะกรณีข้าวและยางพารา ตั้งแต่ พ.ศ.2439-2539” ซึ่งโครงการนี้ได้นำแนวคิดประวัติศาสตร์มาใช้ในการคิดวิเคราะห์ โดยการผสมผสานระหว่างประวัติศาสตร์ชาติที่ถูกอ้างอิงในเอกสารหลักฐานราชการต่างๆ ควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์เรื่องราวที่เกี่ยวข้องจากปากคำของผู้คนหลากหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มผู้ค้า กลุ่มนายทุน กลุ่มข้าราชการ เป็นต้น มีการสังเกตพื้นที่ สิ่งของ กิจกรรม และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้จัดเวทีชาวบ้านร่วมกับกลุ่มชาวนาและชาวสวนยางพารา เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และเปลี่ยนการเรียนรู้ เพื่อร่วมกันวิเคราะห์และค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของตนเอง โดยมองผ่านประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมา190 บาท -
การศึกษางานวิจัยทางด้านแบบลักษณ์ภาษาในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ผู้แต่ง : อุทัยวรรณ ด่านวิวัฒน์ และคณะผลจากการวิจัยสำรวจสถานภาพองค์ความรู้เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง เพื่อรวบรวมผลงานวิจัยในประเทศไทยที่เกี่ยวกับภาษาศาสตร์ในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ในระหว่างปี พ.ศ.2520-2545 ซึ่งมีงานวิจัยทั้งสิ้น 145 เรื่อง ภาษาที่นำมาศึกษามี 13 ภาษา แบ่งเป็น 4 ตระกูลภาษา และจากการศึกษาพบว่า ผลงานวิจัยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ผลงานที่ศึกษาภาษาเดียวกับผลงานที่ศึกษามากกว่าหนึ่งภาษา เมื่อวิเคราะห์ในเชิงลึกแล้วพบว่าการศึกษางานสองลักษณะนี้เป็นไปในแนวเดียวกัน คือ มีผลงานการศึกษาภาษาในเชิงวากยสัมพันธ์ เช่น การศึกษาระบบคำ วลี อนุประโยค และประโยค มากกว่าการศึกษาภาษาในระดับข้อความ130 บาทสินค้าหมด
-
ความเหลื่อมล้ำแนวราบ : ต้นกำเนิดความรุนแรง
ผู้แต่ง : ฟรานเชส สจ๊วร์ตผลงานวิจัยเรื่อง ‘ความเหลื่อมล้ำ’ จากแง่มุมที่แตกต่างออกไปมากทั้งในแง่แนวความคิดและวิธีการศึกษา ทำการวิจัยเปรียบเทียบปัญหาความขัดแย้งที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศต่างๆ อยู่ที่ ‘ความเหลื่อมล้ำแนวราบ’ หรือความไม่เท่าเทียมกันระหว่างกลุ่มคนต่างวัฒนธรรมในฐานะสาเหตุหลักของความขัดแย้ง สมมุติฐานของงานวิจัยนี้คือ เมื่อคนกลุ่มต่างๆ ที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและการเมืองด้วย ก็จะก่อให้เกิดความขุ่นแค้นบาดลึกที่อาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงได้100 บาทสินค้าหมด
-
กงเต็ก : พิธีศพชาวจีนแต้จิ๋ว
ผู้แต่ง : ธรรญาภรณ์ วงศ์บุญชัยนันท์จัดทำขึ้นมาจากวิทยานิพนธ์ “กงเต็ก : พิธีศพชาวจีนแต้จิ๋ว” นำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน เป็นการแสดงถึงความกตัญญูของลูกหลานที่มีต่อบรรพบุรุษและสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างครอบครัว ค่านิยมและความเชื่อของชาวจีนโพ้น ได้ทราบถึงความหมายของขั้นตอนต่างๆในพิธี ถึงแม้ว่าสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนขั้นตอนและรูปแบบในพิธีกงเต็ก แต่พิธีกงเต็กก็ยังคงเป็นการแสดงอัตลักษณ์ของชาวจีนในเรื่องของค่านิยม ความกตัญญูและความผูกพันภายในครอบครัวและสายตระกูล180 บาทสินค้าหมด