Return to Previous Page
รายละเอียด
หนังสือเล่มสุดท้ายในชุด "ปากกา" ของ "ณรงค์ จันทร์เรือง" เล่มนี้ กล่าวถึงความเป็นไปในอดีตว่ารูปแบบของการเขียนหนังสือเมื่อหลายสิบปีก่อนเป็นอย่างไร อาทิ นักเขียนยึดติดกับการเขียน ยึดติดกับสื่อสิ่งพิมพ์และนิตยสารมากแค่ไหน เหตุใดนักเขียนบางคนจึงยึดติดกับเสื้อผ้าหน้าผม ก่อนจะบรรยายถึงนักเขียนแต่ละคนว่ามีรายละเอียดอย่างไร อาทิ สุวัฒน์ วรดิลก โกวิท สีตลายัน รงค์ วงษ์สวรรค์ ว่าเขามีรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างไร เมื่อเกริ่นเรื่องได้ลำดับหนึ่ง จึงเข้าสู่เนื้อหานั่นคือการวิพากษ์วิจารณ์ความเป็นไปในแวดวงวรรณกรรม ที่มิได้ฟันธงว่าปรากฏการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นในแวดวงน้ำหมึกในปัจจุบันมันผิดหรือถูก หากแต่มองไปในมุมของคนที่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะปรากฏการณ์การเกิดขึ้นของ "งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ" และ "งานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ" ว่าเหตุใดสองงานยักษ์ใหญ่นี้ถึงเป็นเสาค้ำความอยู่รอดของแวดวงหนังสือ จำเป็นจริงๆ หรือไม่ที่หากไม่มีกิจกรรมหัวปีท้ายปีเช่นนี้แล้วแวดวงวรรณกรรมจะอยู่ไม่ได้ ผู้เขียนยังชื่นชมนักเขียนบางคนที่เป็นแรงบันดาลใจสำคัญในยุคนี้ อาทิ นิ้วกลม หนุ่มเมืองจันท์ คริสต์ ไรท์ ฯลฯ และนักเขียนที่เป็นแม่เหล็กในงานสัปดาห์หนังสือครั้งที่ผ่านๆ มา ซึ่งมองว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ผ่านมาแล้วก็อาจจะผ่านไป ดังเช่นการริเริ่มสื่อใหม่ๆ อย่างเช่นโทรทัศน์และวิทยุเมื่อครั้งอดีต ทำให้แวดวงหนังสือในเวลานั้นฮือฮาว่าวงการน้ำหมึกจะอยู่รอดหรือไม่ แต่สุดท้ายก็ผ่านมาได้จนถึงทุกวันนี้ข้อมูลเพิ่มเติม
ISBN | 978-974-02-1286-7 |
---|---|
ปีที่ออก | 2557 |
ผู้แต่ง | ณรงค์ จันทร์เรือง |
ผู้แปล | - |
ชื่อสำนักพิมพ์ | มติชน |
กว้าง (นิ้ว) | 5.56 |
สูง (นิ้ว) | 8.38 |
หน้า | 160 |
เนื้อในพิมพ์ | ขาวดำ |
เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
SCRIPTคุณอาจจะสนใจในสินค้าดังต่อไปนี้
![]() |
![]() |
![]() |
![]() วาทกรรมเสียดินแดน
300 บาท
|