ภาษา :
Rimkhobfa Books Online Store.
0 บาท

คุณยังไม่มีสินค้าในตะกร้า

Connect with Facebook
LiveZilla Live Help
ค้นหาภายในไซต์
Return to Previous Page

๑๐๐ เอกสารสำคัญ : สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ ๒๔

เป็นคนแรกที่รีวิวสินค้านี้

190 บาท
รหัสสินค้า: 5006852

สถานะของสินค้า : สินค้าพร้อมส่ง

รายละเอียดแบบย่อ

ประกอบไปด้วยเอกสารสำคัญ 5 เรื่อง คือ “จารึกพระมหาราชครูเชียงใหม่ที่พระเจดีย์ชเหวาซีโข่ง เมืองพุกาม ค.ศ.1393” จารึกหลักนี้ช่วยให้เห็นถึงร่องรอยความสัมพันธ์ทางศาสนาและวัฒนธรรมระหว่างสองอาณาจักร คือ อาณาจักรพม่า กับอาณาจักรเชียงใหม่ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 ขณะเดียวกันยังกล่าวถึงเมืองศูนย์กลางและเส้นทางการจาริกแสวงบุญของพระภิกษุเชียงใหม่ด้วย “บทสวดอุปปาตสันติ : คติความเชื่อเรื่องการสืบชะตาเมือง” นับเป็นเอกสารที่สะท้อนภาพประวัติศาสตร์และการเมือง ความสัมพันธ์กับจีนราชวงศ์หมิง และบทบาทของพระมหาเถระเชียงใหม่ในรัชกาลพระเจ้าสามฝั่งแกน “ตำนานมูลศาสนากับประวัติศาสตร์สถาบันสงฆ์ในล้านนา” เอกสารฉบับนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของตำนานมูลศาสนา ในการศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนาโดยเฉพาะในเรื่องการรับศาสนา และความขัดแย้งระหว่างพระสงฆ์ฝ่ายวัดสวนดอกและวัดป่าแดง อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อและศรัทธาทางศาสนาของชาวล้านนาที่พยายามจรรโลงศาสนาให้อยู่ครบ 5,000 ปี โดยการคัดลอกตำนานมูลศาสนาเก็บไว้ตามวัดวาอารามต่างๆ บทความพิเศษเรื่อง “พระราชกำหนดเก่า จุลศักราช 1089 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ว่าด้วยการปกครองหัวเมือง” เอกสารฉบับนี้แสดงให้เห็นวิธีการควบคุมหัวเมืองของราชสำนักสยามในอดีต และสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางในการปฏิบัติตัวของขุนนางในหัวเมืองด้วย และเรื่อง “จดหมายเหตุโฮสต์ เอส.ฮอลเล็ตต์ (Holt S. Hallett)” ชี้ให้เห็นว่าจดหมายเหตุฉบับนี้มีความสำคัญและคุณค่าในการศึกษาประวัติศาสตร์การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมล้านนาสมัยก่อนการปฏิรูปการปกครอง เนื่องจากมีข้อมูลบางส่วนที่ไม่ปรากฏในเอกสารไทย นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม ภาษา และชื่อเมืองต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพม่าที่มีต่อล้านนาอย่างสูง
หรือ

รายละเอียด

ประกอบไปด้วยเอกสารสำคัญ 5 เรื่อง คือ “จารึกพระมหาราชครูเชียงใหม่ที่พระเจดีย์ชเหวาซีโข่ง เมืองพุกาม ค.ศ.1393” จารึกหลักนี้ช่วยให้เห็นถึงร่องรอยความสัมพันธ์ทางศาสนาและวัฒนธรรมระหว่างสองอาณาจักร คือ อาณาจักรพม่า กับอาณาจักรเชียงใหม่ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 ขณะเดียวกันยังกล่าวถึงเมืองศูนย์กลางและเส้นทางการจาริกแสวงบุญของพระภิกษุเชียงใหม่ด้วย “บทสวดอุปปาตสันติ : คติความเชื่อเรื่องการสืบชะตาเมือง” นับเป็นเอกสารที่สะท้อนภาพประวัติศาสตร์และการเมือง ความสัมพันธ์กับจีนราชวงศ์หมิง และบทบาทของพระมหาเถระเชียงใหม่ในรัชกาลพระเจ้าสามฝั่งแกน “ตำนานมูลศาสนากับประวัติศาสตร์สถาบันสงฆ์ในล้านนา” เอกสารฉบับนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของตำนานมูลศาสนา ในการศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนาโดยเฉพาะในเรื่องการรับศาสนา และความขัดแย้งระหว่างพระสงฆ์ฝ่ายวัดสวนดอกและวัดป่าแดง อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อและศรัทธาทางศาสนาของชาวล้านนาที่พยายามจรรโลงศาสนาให้อยู่ครบ 5,000 ปี โดยการคัดลอกตำนานมูลศาสนาเก็บไว้ตามวัดวาอารามต่างๆ บทความพิเศษเรื่อง “พระราชกำหนดเก่า จุลศักราช 1089 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ว่าด้วยการปกครองหัวเมือง” เอกสารฉบับนี้แสดงให้เห็นวิธีการควบคุมหัวเมืองของราชสำนักสยามในอดีต และสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางในการปฏิบัติตัวของขุนนางในหัวเมืองด้วย และเรื่อง “จดหมายเหตุโฮสต์ เอส.ฮอลเล็ตต์ (Holt S. Hallett)” ชี้ให้เห็นว่าจดหมายเหตุฉบับนี้มีความสำคัญและคุณค่าในการศึกษาประวัติศาสตร์การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมล้านนาสมัยก่อนการปฏิรูปการปกครอง เนื่องจากมีข้อมูลบางส่วนที่ไม่ปรากฏในเอกสารไทย นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม ภาษา และชื่อเมืองต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพม่าที่มีต่อล้านนาอย่างสูง

ข้อมูลเพิ่มเติม

ISBN 978-616-7739-09-0
ปีที่ออก 2555
ผู้แต่ง อรพินท์ คำสอน และ ธิษณา วีรเกียรติสุนทร (บรรณาธิการ)
ผู้แปล -
ชื่อสำนักพิมพ์ โครงการวิจัย "100 เอกสารสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย"
กว้าง (นิ้ว) 5.75
สูง (นิ้ว) 8.58
หน้า 162
เนื้อในพิมพ์ ขาวดำ

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง

คุณกำลังรีวิว: ๑๐๐ เอกสารสำคัญ : สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ ๒๔

คุณจะให้คะแนนสินค้านี้อย่างไร? *

  1 ดาว 2 ดาว 3 ดาว 4 ดาว 5 ดาว
คุณภาพ
ราคา
ความคุ้มค่า
SCRIPT
[TR]